ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 125
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่างบันทึกข้อตกลง
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่างบันทึกข้อตกลง ขอนุมัติบันทึกข้อตกลง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบข้อมูล 3 ฝ่าย (กรุงเทพมหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 อยู่ระหว่างขออนุมัติผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร และอยู่ระหว่างจัดทำระบบเชื่อมประสานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจากบริษัทกลางฯ เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล Driver
-อยู่ระหว่างประสานแจ้งคำสั่งคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานครทราบและพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่ง ศปถ.กทม.ที่ 02/2563 ลงวันที่ 24 เมษายน 2563 และจัดทำรายงานการวิเคราะห์จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจราจร
-ความสำเร็จของแต่ละองค์ประกอบ ส่วนที่ 1 การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร มี 5 องค์ประกอบ ๆ ละ 20 คะแนน (รวมร้อยละ 100) องค์ประกอบ 1 มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร (คะแนนร้อยละ 20) ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้คะแนนร้อยละ 20 ตามคำสั่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ที่ 2/2563 ลงวันที่ 24 เมษายน 2563 แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร องค์ประกอบ 2 มีกระบวนการรวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนและจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยแหล่งข้อมูลต้องประกอบด้วย ข้อมูลจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (คะแนนร้อยละ 20) ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ คิดเป็นคะแนนร้อยละ 20 โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนและจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดช่องทางการเชื่อมต่อฐานข้อมูล (web api) ให้กับ กทม. ตามการลงนามความร่วมมือ MOU เพื่อพัฒนาระบบ DRIVER 2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล สจส. ศูนย์เอราวัณ และบริษัทกลางฯ ร่วมกันรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนซึ่งมีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ กทม. ผ่านระบบ line application (Line Group : ศูนย์รวบรวมข้อมูล อบ.ทางถนนในพื้นที่ กทม.) องค์ประกอบ 3 มีการแสดงข้อมูลเป็นรายเดือนได้ (คะแนนร้อยละ 20) ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ คิดเป็นคะแนนร้อยละ 20 (12 เดือน) โดยข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละพื้นที่ของกรุงเทพมหานครเป็นรายเดือน โดยการเข้าถึงข้อมูลผ่าน เวปไซต์ www.ThaiRSC.com และได้รวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นหนังสือสถิติจราจรประจำปีของและสำนักการจราจรขนส่ง องค์ประกอบที่ 4 มีการรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งเป็นรายไตรมาส (คะแนนร้อยละ 20) ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว 4 ไตร ได้คะแนนร้อยละ 20 โดยกองนโยบายและแผนงาน กลุ่มงานสถิติและวิจัย ได้ดำเนินการจัดทำรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานของศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานครต่อผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งทุกไตรมาส องค์ประกอบที่ 5 มีการรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนฯ ทุกครั้ง (คะแนนร้อยละ 20) ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว คิดเป็นคะแนนร้อยละ 20 โดยในการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 และ ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 25 สิงหาคม 2563 ได้มีการรายงานโดย นายธนันท์ชัย เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 2 กรณีหน่วยงาน สามารถแสดงให้เห็นถึงการนำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลฯ ไปใช้ประโยชน์ได้ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มเติม ร้อยละ 25 ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว โดยได้สนับสนุนด้านข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่สำนักงานเขต 50 เขต ไปใช้ในการประเมินผลการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงในพื้นที่ โดยส่งข้อมูลทาง กลุ่มไลน์ ศปถ.กทม. และจัดอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการอบรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ที่ปฏิบัติงานใน ศปถ.เขต และเจ้าหน้าที่ของกองนโยบายและแผนงาน จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 55 คน จัดการอบรมรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 24 กันยายน 2563 หัวข้อสำคัญในการจัดอบรม ได้แก่ การนำข้อมูลและการวิเคราะห์สู่การปฏิบัติ โดยนำข้อมูลที่เขตมีอยู่แล้วร่วมกับการนำข้อมูลของเวปไซต์ ThaiRSC ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มาฝึกการปฏิบัติในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุด้านการจราจร คิดเป็นคะแนน 25 คะแนน
ร้อยละความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ซึ่ง สจส.ในฐานะคณะกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีศูนย์ข้อมูลและสถิติทางถนนของกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการดังกล่าว
วิธีการคำนวณ ความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร = ผลรวมร้อยละความสำเร็จของแต่ละองค์ประกอบ ความสำเร็จแต่ละองค์ประกอบ 1. องค์ประกอบที่ 1 ร้อยละ 20 ของค่าเป้าหมาย มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานคร 2. องค์ประกอบที่ 2 ร้อยละ 40 ของค่าเป้าหมาย มีกระบวนการรวบรวมสถิติอุุบัติเหตุ่ทางถนนและจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย อย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อมูลและสถิติจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และสำนังานตำรวจแห่งชาติ 3. องค์ประกอบที่ 3 ร้อยละ 60 ของค่าเป้าหมาย มีการแสดงข้อมูลเป็นรายเดือนได้ 4. องค์ประกอบที่ 4 ร้อยละ 80 ของค่าเป้าหมาย มีการรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งเป็นรายไตรมาส 5. องค์ประกอบที่ 5 ร้อยละ 100 ของค่าเป้าหมาย มีการรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการศูนย์อำนวยความปลอดัยทางถนนกรุงเทพมหานครทุกคร้งที่มีการจัดประชุมคณะกรรม การฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 6. ร้อยละ 125 ของค่าเป้าหมาย หน่วยงานสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุทางถนนของกรุงเทพมหานครมาใช้ประโยชน์ได้ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและสถิติอุบัติเหตุ
1. สำรวจ จัดเก็บ รวบรวมและคัดลอกข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (ภาครัฐและภาคเอกชน) 2. บูรณาการฐานข้อมูลของระบบรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน ด้วยการสร้างภาพและประเมินผล (Data for Road Incident Visualization Evaluation and Reporting :DRIVER)
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
:๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |