รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

19.ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยว : 2300-0814

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 84.63

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
84.63
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างดำเนินการ ๑. ทดสอบแบบสอบถาม และส่งตัวอย่างแบบสอบถามให้กองนโยบายและแผนงาน สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว พิจารณา ๒. จัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ของดีของเด่นย่านเก่าของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๗ ย่าน ได้แก่ ๑) บางลำพู (ข้าวต้มน้ำวุ้น) ๒) นางเลิ้ง (ขนมเรไร) ๓) บ้านบุ (ขันลงหิน) ๔) เสาชิงช้า ภูเขาทอง (บ้านบาตร) ๕) บางระมาด (ข้าวมันส้มตำ) ๖) หัวตะเข้ (ขนมเปี๊ยะ) ๗) ตลาดน้อย บางรัก (กะหรี่ปั๊ป) โดยการวาดภาพเสมือนจริงพร้อมอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ และจัดทำเป็น QR Code และคลิปวิดีโอภาพและเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจของส่วนการท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย และผู้พิการทางการได้ยินและเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สำหรับผู้พิการทางสายตา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

๑. อยู่ระหว่างดำเนินการทอดแบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจจำนวนทั้งสิ้น ๔๐๐ ชุด แบ่งเป็นชาวไทย ๑๐๐ ชุด และชาวต่างชาติ ๓๐๐ ชุด โดยเริ่มดำเนินการทอดแบบสอบถามทั้งหมด เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ มีกำหนดเก็บแบบสอบถาม ๒ รอบ เมื่อครบทุก ๓๐ วันนับแต่วันที่ทอดแบบสอบถาม โดยพิจารณากระจายแบบสอบถามตามความหนาแน่นของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครต่อจำนวนนักท่องเที่ยวรงวมกันทั้งหมด (สถิติ ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒) โดยได้กระจายแบบสอบถามให้เจ้าหน้าที่ประจำซุ้มประชาสัมพันธ์ฯ จำนวน ๒๒ จุด คือ ๑) ท่าช้าง ๒) สราญรมย์ ๓) วัดบวร ๔) บางขุนพรหม ๕) ผ่านฟ้า ๖) ลานคนเมือง ๗) เยาวราช ๘) ริเวอร์ซิตี้ ๙) หัวลำโพง ๑๐) สีลม ๑๑) รพ.จุฬา ๑๒) รพ.ตำรวจ ๑๓) มาบุญครอง ๑๔) พารากอน ๑๕) แพลตินั่ม ๑๖) พญาไท ๑๗) เซ็นจูรี่ ๑๘) จตุจักร ๑๙) เบญจสิริ ๒๐) แอมบาสเดอร์ ๒๑) ห้วยขวาง และ ๒๒) อนุสาวรีย์ เกาะดินแดง ๒. จัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ของดีของเด่นย่านเก่าของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๗ ย่าน ได้แก่ ๑) บางลำพู(ข้าวต้มน้ำวุ้น) ๒) นางเลิ้ง (ขนมเรไร) ๓) บ้านบุ (ขันลงหิน) ๔) เสาชิงช้า ภูเขาทอง (บ้านบาตร) ๕) บางระมาด (ข้าวมันส้มตำ) ๖) หัวตะเข้ (ขนมเปี๊ยะ) ๗) ตลาดน้อย บางรัก (กะหรี่ปั๊ป) โดยการวาดภาพเสมือนจริง พร้อมอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ และจัดทำเป็น QR Code และคลิปวิดีโอภาพและเสียง เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจของส่วนการท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย และผู้พิการทางการได้ยิน และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สำหรับผู้พิการทางสายตา โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการตัดต่อเนื้อหาและภาพประกอบของวิดีโอ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-อยู่ระหว่างการประเมินผลแบบสอบถามฯ และเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของดี ๗ ย่านเก่าของกรุงเทพมหานครโดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลลงในเว็บไซต์ของส่วนการท่องเที่ยว, เฟซบุ๊กส่วนการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร, ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการได้ ร้อยละ ๘๔.๖๓ (๘๖.๖๖ + ๘๒.๖๐/๒) จากกิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ พบว่า ๑. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านบริการการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๓๓๓ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๖ ๒. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของบริการการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๑๓๐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๖๐ ผลการดำเนินการกิจกรรม/โครงการ ๑. กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ สธท.) (กิจกรรมซ้ำ*) (ไม่ใช้งบประมาณ) - ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการข้อมูลด้านความปลอดภัย ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ ครั้ง ด้วยเหตุขัดข้องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19) ทำให้การจัดเก็บแบบสอบถามไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยเริ่มแจกแบบสอบถามภายหลังการพิจารณาดำเนินการ ปรับเปลี่ยนคำถามให้มีความเหมาะสมและชัดเจนสำหรับผู้ทำแบบสำรวจมากขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ และดำเนินการเก็บคืนแบบสอบถามภายหลังสถานการณ์การล็อคดาวน์เมืองตามมาตรการของรัฐบาล ทำให้หน่วยงานมีช่วงเวลาในการจัดเก็บแบบสำรวจเพียง ๑ เดือน โดยเก็บคืนมาได้ทั้งสิ้น ๒๐๔ ชุด แบ่งเป็นชาวไทย จำนวน ๕๑ ชุด และชาวต่างชาติ จำนวน ๑๕๓ ชุด สรุปผลความพึงพอใจต่อการบริการได้ ๒ ด้าน ดังนี้ ๑) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านบริการการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๓๓๓ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๖ โดยมีประเด็นที่ทำการสำรวจ ดังนี้ - จุดให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร (ซุ้มประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๓๙๒ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๗.๘๔ - ภาพรวมการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๓๖๘ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๗.๓๖ - จุดให้บริการข้อมูลภายในแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๓๑๙ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๓๘ - ภาพรวมการให้บริการของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๒๙๔ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๘ - ภาพรวมการให้บริการของร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๒๙๔ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๘ ๒) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของบริการการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๑๓๐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๒.๖๐ โดยมีประเด็นที่ทำการสำรวจ ดังนี้ - ความเหมาะสมของแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร สำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยนักท่องเที่ยวเห็นว่า แหล่งท่องเที่ยวมีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเยาวชนมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ ๔.๒๐๑ (คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๒) รองลงมาคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ โดยมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔.๑๑๘ (ร้อยละ ๘๒.๓๖) และ ๔.๐๓๙ (ร้อยละ ๘๐.๗๘) ตามลำดับ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการสำรวจและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เนื่องจาก ๑) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง อันเป็นผลมาจากมาตรการหรือนโยบายของทางการไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่จำกัดการเดินทางเข้าออกของพลเมืองและนักท่องเที่ยว ประกอบกับสายการบินทั้งไทยและต่างประเทศที่ประกาศหยุดทำการบินเป็นการชั่วคราวในหลายเส้นทาง ๒) การปิดให้บริการของซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ อันเนื่องมาจากการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ของ ศบค. ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เพื่อควบคุมและยับยั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด และให้ประชาชนทำงานจากบ้าน (Work from Home) ทำให้ไม่อาจจัดเก็บแบบสำรวจความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวได้ตามจำนวนที่ตั้งเป้าไว้ในบทนิยามท้ายแผนฯ หน่วยงานได้ และมีระยะเวลาการทอดแบบสำรวจฯ แค่เพียงในเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครเริ่มมีผลกระทบต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว ๓) สถานการณ์ตึงเครียดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกในการเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 อาทิ การต้องกักกันตัวเองในการเดินทางเข้า-ออกประเทศ การไม่อาจเดินทางกลับประเทศตนเองได้ด้วยสภาวการณ์หรือมาตรการต่าง ๆ ที่ไม่ชัดเจนและผันแปรรายวัน ประกอบกับแนวปฏิบัติของรัฐไทยที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวจะต้องปฏิบัติค่อนข้างเข้มงวด ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ลดลง ๒. กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน หรือหาแนวทางพัฒนาการจัดบริการสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม (ไม่ใช้งบประมาณ) ด้วยแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานครเป็นของภาคประชาสังคม ทำให้ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จึงพิจารณาดำเนินการจัดบริการเพื่อสนับสนุนให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีถิ่นสามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มได้อย่างเสมอภาค ผ่านการจัดทำ “หนังสือเสียง” เผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของดีของเด่นใน ๗ ย่านของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพันธกิจที่กรุงเทพมหานครได้รับมอบหมายจากส่วนกลางตามภารกิจกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการ รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ที่ กท ๑๒๐๗/๐๔๔๕ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ในการนี้ จากกการพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ส่วนการท่องเที่ยวจึงได้พิจารณาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่จะสามารถเข้าถึงประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่มผ่านหนังสือเสียง โดยเนื้อหาที่พิจารณาคัดเลือกนั้นต่อยอดจากการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ ๗ ย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นย่านเก่าที่มีคุณค่าและอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรมและวิถีถิ่นที่ส่วนการท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยคาดหวังให้เกิดการกระจายรายได้ในภาคเศรษฐกิจภายในชุมชน ดำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่การจ้างงาน และที่สำคัญคือ การท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งที่มาที่ทำให้ ๗ ย่านดังกล่าวมีเสน่ห์ดึงดูดและน่าสนใจนั้น มาจากภูมิปัญญาของชาวชุมชนในท้องถิ่นเอง หรือ “ของดีของเด่น ๗ ย่านจึงเห็นควรนำข้อมูลของดีของเด่นใน ๗ ย่าน มาจัดทำเนื้อหาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของหนังสือเสียง เผยแพร่ในช่อง Youtube ผ่านการจัดทำลิงค์การรับชมพร้อมแบบสำรวจความพึงพอใจเป็น QR Code ติดประกาศเผยแพร่ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร เว็บไซต์ของหน่วยงาน และการประชาสัมพันธ์ผ่านมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีรายละเอียดของหนังสือเสียงของดีของเด่น ๗ เรื่อง ดังนี้ ๑. ข้าวต้มน้ำวุ้น จากย่านบางลำพู เขตพระนคร ๒. ขนมเรไร จากย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๓. ขันลงหิน จากย่านบ้านบุ เขตบางกอกน้อย ๔. บ้านบาตร จากย่านเสาชิงช้า - ภูเขาทอง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๕. ข้าวมันส้มตำ จากย่านคลองบางระมาด เขตตลิ่งชัน ๖. ขนมเปี๊ยะโบราณใส่ไข่ ๘ ฟอง จากย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ๗. กระหรี่ปั๊บคุณปุ๊ จากย่านตลาดน้อย เขตบางรัก ทั้งนี้ การดำเนินการจัดทำหนังสือเสียง ไม่มีงบประมาณ การวาดภาพประกอบและการบันทึกเสียง จึงค่อนข้างมีข้อจำกัดในการดำเนินการ สำหรับผลการตอบรับการดำเนินงาน มีผู้เข้าชมหนังสือเสียง จำนวน ๑๙๖ ครั้ง และมีผู้ประเมินความพึงพอใจผ่านแบบสำรวจ จำนวน ๑๑๖ คน สรุปผลได้ดังนี้ ๑. ผู้ใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจในระดับมาก จำนวน ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗ ๒. ผู้ใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จำนวน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๙ ๓. ผู้ใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๘ ๔. ผู้ใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจในระดับน้อย จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๗ ๕. ผู้ใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจมนระดับน้อยที่สุด จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๙

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- นักท่องเที่ยว หมายถึง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มาใช้บริการ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร - การให้บริการด้านการท่องเที่ยว หมายถึง การให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว เช่น บริการด้านข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม เป็นต้น - ความพึงพอใจ หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติด้านบวกต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วัดระดับความพึงพอใจแบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยแต่ละระดับจะแปลค่าเป็นคะแนน ดังนี้ ความพึงพอใจมากที่สุด = ๕ คะแนน ความพึงพอใจมาก = ๔ คะแนน ความพึงพอใจปานกลาง = ๓ คะแนน ความพึงพอใจน้อย = ๒ คะแนน ความพึงพอใจน้อยที่สุด = ๑ คะแนน ๑. คะแนนความพึงพอใจรายข้อ = ((จำนวนผู้พึงพอใจมากที่สุด x ๕) + (จำนวนผู้พึงพอใจมาก x ๔) + (จำนวนผู้พึงพอใจปานกลาง x ๓) + (จำนวนผู้พึงพอใจน้อย x ๒) + (จำนวนผู้พึงพอใจน้อยที่สุด x ๑)) ๒. ระดับความพึงพอใจที่ได้ ( X ) = ผลรวมของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทุกข้อ/ผลรวมของคะแนนความพึงพอใจทุกข้อ ๓. ร้อยละความพึงพอใจ = ระดับความพึงพอใจที่ได้ คูณ ๑๐๐ หารด้วย ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- ใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาใช้บริการ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครโดยจัดเก็บปีละ ๑ ครั้ง ๆ ละ ๔๐๐ ชุด แบ่งเป็น ชาวไทย จำนวน ๑๐๐ ชุด และชาวต่างชาติ จำนวน ๓๐๐ ชุด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre
:๖.๒ - เมืองแห่งนักท่องเที่ยวระดับโลก
:๖.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก%
:๖.๒.๑.๒ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุเพิ่ม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง