รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ตัวชี้วัดที่ 8 (ตัวชี้วัดเจรจา 5) พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น : 5013-0909

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
12.72
100
100 / 100
2
66.07
100
100 / 100
3
100.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.สำรวจพื้นที่สีเขียว 7 ประเภท ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรายงานลงในระบบ เดือนตุลาคม 2562-เดือนธันวาคม2562 -พื้นที่ศาลเจ้าแม่กวนอิม ถนนสุวินทวงศ์ จำนวน 1424.4 ตรม. ( 3 งาน 56.11 ตารางวา)จากเป้าหมาย 11200 ตารางเมตร (7 ไร่)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-1.สำรวจพื้นที่สีเขียว 7 ประเภท ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรายงานลงในระบบ เดือนมกราคม-มีนาคม 2563 สวนหย่อมหน้าเดอะคิวพ์พลัสคอนโดมีนบุรี,จัดสวนแนวตั้งบลัสสปา ซอยสุวินทวงศ์ 8 , จัดสวนหย่อมภายในบริษัท เค.เอส โปรดักส์แลนด์ซัพพลาย ถนนราษฎร์อุทิศ ,จัดสวนแนวตั้งบลัสสปา ซอยสุวินทวงศ์ 8 ,จัดสวนหย่อมหมู่บ้านเดอะคอนเนค ถนนสามวา , จัดสวนหย่อมภายในปั๊มปตท.เลขที่ 6133 ถนนราษฎร์อุทิศ รวมพื้นที่จำนวน 7,400.12 ตรม. (4 ไร่ ,2งาน ,50.03 ตรารางวา)จากเป้าหมาย จากเป้าหมาย 11200 ตารางเมตร (7 ไร่)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-1.สำรวจพื้นที่สีเขียว 7 ประเภท ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรายงานลงในระบบ เดือนเมษายน 2563 จัดทำสวนหย่อมใน หจก.ปัญญานิมิต เลขที่74/59 ซอยคุ้มเกล้า 4 ถนนคุ้มเกล้า ขนาดพื้นที่ 17514.40 ตารางเมตร (10ไร่ 3 งาน 78.6 ตารางวา) จัดสวนกระถางเฟื่องฟ้าราวสะพานถนนมีนพัฒนา ระยะทาง 80.5 ตารางวา รวมพื้นที่ 17836.4 ตารางเมตร(11ไร่ 59.1 ตารางวา) จากเป้าหมาย 11200 ตารางเมตร (7 ไร่ )

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-1.สำรวจพื้นที่สีเขียว 7 ประเภท ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรายงานลงในระบบ เดือนเมษายน 2563 จัดทำสวนหย่อมใน หจก.ปัญญานิมิต เลขที่74/59 ซอยคุ้มเกล้า 4 ถนนคุ้มเกล้า ขนาดพื้นที่ 17514.40 ตารางเมตร (10ไร่ 3 งาน 78.6 ตารางวา) จัดสวนกระถางเฟื่องฟ้าราวสะพานถนนมีนพัฒนา ระยะทาง 80.5 ตารางวา รวมพื้นที่ 17836.4 ตารางเมตร(11ไร่ 59.1 ตารางวา) จากเป้าหมาย 11200 ตารางเมตร (7 ไร่ )

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม- พื้นที่สีเขียวหมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภทแยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อมให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจรวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้วให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนกำหนดแทน - รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท 1.พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวน 1.1 ความหมาย คือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อนซึ่ง สนข./สสณ. สสล.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ริมทาง/ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof)ฯลฯ สวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร สวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า(Green roof) นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 1.2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อมต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ต.ร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 1.2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 1.2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) 1.2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง 1.2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้นเป็นพื้นที่ 1 ไร่ 1.2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของระยะทางที่ปลูก 1.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำนักงานเขตรับผิดชอบและดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 1.3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 1.3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 1.3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 1.4 สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ รายงานเข้าสู่ระบบฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 1.4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 1.4.3 อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ 2.พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวน 2.1 ความหมายคือ พื้นที่สีเขียวตามคำจำกัดความในแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 จำนวน 9 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 2.1.1 สนามกีฬากลางแจ้ง หมายถึงสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500ตร.ม.ขึ้นไป 2.1.2 สนามกอล์ฟ หมายถึง สนามกอล์ฟทุกแห่ง 2.1.3 แหล่2.1.4 ที่ลุ่ม หมายถึงที่ลุ่มน้ำท่วมขังมีพืชขึ้นปกคลุม เช่นกกที่มีขนาดมากกว่า 500ตร.ม.ขึ้นไปทุกแห่ง 2.1.5 ที่ว่าง หมายถึงที่ว่างหรือที่โล่งที่มีขนาดมากกว่า 1 ไร่ พื้นที่โล่งหรือพื้นที่รกร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใดและมีขนาดพื้นที่มากกว่า 500ตร.ม. 2.1.6 พื้นที่ไม้ยืนต้น หมายถึงพื้นที่มีกลุ่มไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนผลไม้ 2.1.7 พื้นที่เกษตรกรรม หมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาหญ้า 2.1.8 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึงพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 2.1.9 พื้นที่อื่นๆ หมายถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเช่น ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วน หรือทางพิเศษ เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ 2.สำนักงานเขต 1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะคิดคะแนนประเภทละ 100 % รวม 200% 2. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ 1 ให้เหลือร้อยละ 100 3. นำผลที่ได้จากข้อ 2 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วนคือ 1) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่าย4. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละสำนักงานเขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.เก็บข้อมูลที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ 2.รายงานผลการดำเนินงานสำนักสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ%
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง