รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร (ตชว.เจรจาตกลง ๔) : 5018-0791

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
21.28
100
100 / 100
2
51.22
100
100 / 100
3
86.65
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

เดือนต.ค.-พย. 2562 เก็บตัวอย่างอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี จำนวน 220 ตัว และเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา จำนวน 173 ตัวอย่าง เดือนพ.ย. 62 เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี จำนวน 220 ตัว ไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 18.93 - แนะนำประชาสัมพันธ์การสุขาภิบาลและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ประกอบการจำหน่าย - ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร - สร้างเครือข่ายภาคประชาชนผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอหารปลอดภัย - สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร สะสมอาหาร ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้เป็นปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 17.90 -ดำเนินการเก็บตัวอย่างผักสดเพื่อตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 385 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 27.02 เฉลี่ย 18.93+17.90+27.02/3 =21.28

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ไตรมาส 2 1. โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย เดือนมกราคม – มีนาคม 2563 เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี จำนวน 1005 ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา จำนวน 652 ตัวอย่าง โดยไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 43.43 2. โครงการจ้างงานเพื่อพัฒนาคุณภาพงานสุขาภิบาลอาหารในกทม. 2.1 แนะนำประชาสัมพันธ์การสุขาภิบาลและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ประกอบการจำหน่าย 2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร 2.3 สร้างเครือข่ายภาคประชาชนผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย 2.4 สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร สะสมอาหาร มินิมาร์ท และตลาดจำหน่ายอาหารให้เป็นปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 59.68 3. โครงการจ้างเก็บตัวอย่างผักสดเพื่อตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 875 ตัวอย่าง ซึ่งไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 5056 เฉลี่ยผลงานที่ทำได้ 43.3+59.68+50.56/3=51.22

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ไตรมาส 3 - โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย เดือนเมษายน - มิถุนายน 2563 เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านเคมี จำนวน 1,253 ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา จำนวน 804 ตัวอย่าง โดยไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด สถานประกอบการอาหารทั้งหมด 133 ราย สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยกรุงเทพมหานคร ระดับดี 116 ราย คิดเป็นความก้าวหน้าร้อยละ 87.22 เดือนเม.ย. 63- 16 ราย เดือนพ.ค. 63 - 6 ราย เดือนมิ.ย. 63 - 26 ราย โครงการจ้างงานเพื่อพัฒนาคุณภาพงานสุขาภิบาลอาหารในกทม. 1. แนะนำประชาสัมพันธ์การสุขาภิบาลและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ประกอบการจำหน่าย จำนวน 148 ราย จากทั้งหมด 120 ราย คิดเป็นร้อยละร้อย 2. สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหาร สะสมอาหาร มิริมาร์ท และตลาดจำหน่ายอาหารให้เป็นปัจจุบัน และมีการต่อใบอนุญาตจำนวน 90 ราย จากทั้งหมด 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.72 3. สร้างเครือข่ายภาคประชาชนผู้บริโภคให้มีส่วนร่วมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย 4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร คิดเป็นความก้าวหน้าร้อยละ 87.53 โครงการจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในโครงการตรวจสอบหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด ดำเนินการ เก็บตัวอย่างผักสดเพื่อตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 1,603 ตัวอย่าง ซึ่งไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นความก้าวหน้าร้อยละ 83.18 เดือนเม.ย. 63- 274 ตัวอย่าง เดือนพ.ค. 63- 172 ตัวอย่าง สรุปผลงาน(เฉลี่ย) ไตรมาส 3 =87.22+87.53+83.18/3=86.65

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ไตรมาส 4 - วิเคราะห์ด้านเคมี จำนวน 864 ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา จำนวน 449 ตัวอย่าง โดยไม่พบการปนเปื้อนทั้งหมด สถานประกอบการอาหารทั้งหมด 136 ราย สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ระดับดี 136 ราย ความก้าวหน้าโครงการจ้างงานเพื่อพัฒนาคุณภาพงานสุขาภิบาลอาหารในกทม. แนะนำปชส. การสุขาภิบาลและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ประกอบการจำหน่าย จำนวน 201 ราย จาก 120 ราย คิดเป็น ร้อยละ 167.50 สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหารสะสมอาหาร มินิมาร์ท และตลาดจำหน่ายอหารให้เป็นปัจจุบัน มีการต่อใบอนุยาต จำนวน 186 ราย จากทั้งหมด 132 ราย คิดเป็นร้อยละ 106.90 และสร้างเครือข่ายประชาชนผู้บริโภคมีส่วนร่วม ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ความก้าวหน้าของโครงการจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในโครงการตรวจสอบหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด ดำเนินการเก็บตัวอย่างผักสดเพื่อตรวจหายาฆ่าแมลง จำนวน 1,977 ตัวอย่าง ซึ่งไม่พบสารปนเปื้อน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม : ๑. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ตและมินิมาร์ท ในพื้นที่ ๕๐ เขต ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ๒. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหาร และด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ดังนี้ 2.1 ด้านอาคารสถานที่ ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะสถานประกอบการอาหาร 2.2 ด้านความปลอดภัยของอาหาร ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง สารไอโอเดทและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารเกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภคภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-๒) พบการปนเปื้อน ไม่เกินร้อยละ 1๐ กรณี พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หรือโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ให้ออกคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือคำแนะนำให้ผู้ประกอบการอาหาร ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขให้ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2.3 ด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และผ่านการทดสอบความรู้โดยได้รับหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร ๓. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลผลิต : - จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลลัพธ์ : - ร้อยละสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร การวัดผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัด (น้ำหนัก 10 คะแนน) การดำเนินงานของสำนักอนามัย ๑. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการตามตัวชี้วัดบูรณาการ (0.2) 2. จัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการอาหารทั้ง 50 เขต (0.2) 3. สนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานเขตในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่ มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (2.0) ดังนี้ 3.1 สนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค 3.2 สนับสนุนชุดทดสอบด้านความปลอดภัยของอาหารเบื้องต้น (Test-kit) 3.3 การอบรมผู้สัมผัสอาหารตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร พร้อมออกบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร 4. รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลสถานประกอบการที่สำนักงานเขตส่งมาขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (0.4) 5. จัดทำป้ายรับรองฯ ส่งให้สำนักงานเขต (0.3) 6. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด และแจ้งให้สำนักงานเขตทราบ รวมทั้งติดตาม เร่งรัดการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย กรณีพบปัญหาให้ประสานสำนักงานเขตเพื่อดำเนินการแก้ไข (0.2) 7. สุ่มตรวจประเมินติดตาม กำกับมาตรฐานการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครในพื้นที่ 50 เขต (0.2) การดำเนินงานของสำนักงานเขต 1. สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำฐานข้อมูล แล้วรายงานให้สำนักอนามัย (1.0) 2. ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (3.0) โดย 2.1 ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะ 2.2 ตรวจคุณภาพอาหารด้านเคมี และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ด้วยชุดทดสอบด้านความปลอดภัยของอาหารเบื้องต้น (Test-kit) 2.3 ส่งเสริมผู้สัมผัสอาหารให้ผ่านการอบรม หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร 3. รวบรวมรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครส่งให้สำนักอนามัย เพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (0.5) 4. ส่งมอบป้ายรับรองฯ ให้กับสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (1.0) 5. ตรวจติดตาม กำกับ สถานประกอบการที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ (1.0)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ : จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครคูณด้วย ๑๐๐ หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต สูตรการคำนวณ จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร x ๑๐๐ . จำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เอกสารหลักฐาน: 1.โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. เอกสารการขอรับ และส่งป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง