ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
โทร.3153
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของภูมิภาค เป็นศูนย์รวมในการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังเป็นศูนย์รวมทางการศึกษาโดยมีสถานศึกษาในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษา ทั้งสังกัดภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของกรุงเทพมหานครมีโรงเรียนสังกัดจำนวน 436 แห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 158 แห่ง และโรงเรียนเอกชน 789 แห่ง รวมทั้งสิ้น1,383 แห่ง มีทางข้าม(ม้าลาย)จำนวน 1,112 ทางข้าม บริเวณโรงเรียนหรือสถานศึกษาจัดเป็นพื้นที่เสี่ยง มีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุจราจร จากการใช้รถใช้ถนนและการเดินทางที่เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น เกิดจากการจราจรคับคั่ง เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ เกิดจากเครื่องหมายและสัญญาณจราจรไม่ชัดเจนขาดงบประมาณในการบำรุงรักษา ทางข้ามถนนมีลักษณะไม่ปลอดภัย การฝ่าฝืนกฎจราจร การใช้ความเร็วรถเกินกฎหมายกำหนดและไม่ปลอดภัย ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงมีโอกาสเกิดความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่าการใช้ความเร็วต่ำเมื่อผ่านย่านชุมชนหรือโรงเรียนต่างๆ ประการสำคัญคือ ผู้ใช้ทางมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจต่ำ เช่น เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ที่ไม่สามารถอ่านสภาพการจราจรและแก้ไขสถานการณ์ต่างๆจากการจราจรบนถนนได้เลย โดยเฉพาะบริเวณหน้าโรงเรียนที่เป็นจุดเสี่ยงอุบัติเหตุจราจรเนื่องจากมีปริมาณการสัญจรที่คับคั่ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยต่อการสัญจรทางถนน ต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุง เครื่องหมาย สัญญา และอุปกรณ์ด้านจราจรให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษสำหรับการป้องกัน เสริมความปลอดภัยให้กับเยาวชนเพื่อมิให้เป็นเหยื่อของการเกิดอุบัติเหตุจราจร ซึ่งตรงกับนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่จะให้การดูแลผู้สูงอายุและเยาวชนเป็นกรณีพิเศษในทุกด้านเพื่อความปลอดภัยของประชาชนกรุงเทพมหานคร
17130400/17130400
1 เพื่อนำนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครไปสู่การปฏิบัติ 2 เพื่อเพิ่มระดับความระมัดระวังให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ผ่านบริเวณทางข้ามหน้าโรงเรียน 3 เพื่อยับยั้งการจราจร (Traffic Calming) บริเวณทางข้ามหน้าโรงเรียน 4 เพื่อลดขนาดของอุบัติเหตุจราจรบริเวณทางข้ามหน้าโรงเรียน
การดำเนินการโครงการเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางข้ามหน้าโรงเรียนในพื้นที่ กทม. กำหนดเป้าหมายโดยคัดเลือกทางข้ามบริเวณหน้าโรงเรียนที่มีการสัญจรคับคั่ง มีปริมาณการใช้ทางข้ามจำนวนมากโดยเฉพาะในชั่งโมงเร่งด่วน หรือเป็นจุดเสี่ยงอันตรายจากการจราจร มาดำเนินการเพิ่มความปลอดภัยในปี 2562
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ |
๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร% |
๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-03-25)
25/3/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ผู้รับจ้างส่งาน 5 มีนาคม 63 กรรมการตรวจรับงาน 20 มีนาคม 63 กรรมการรายงานผลการตรวจรับ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-02-23)
23/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน.ดำเนินการตามสัญญา
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2020-01-28)
28/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการตามสัญญา
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2019-12-25)
25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการตามสัญญา
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-31)
31/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 6. (2) ความสำเร็จของการเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางข้ามหน้าสถานศึกษา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **