2024-03-31 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | - ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ร่วมกับฝ่ายโยธาได้ร่วมกันพิจารณาจัดหาวัสดุพร้อมออกแบบการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงฯ
- ฝ่ายโยธาได้เริ่มทดลองใช้ พร้อมปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป | |
2024-03-31 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | - เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นางกฤติมา นิ่มน้อย ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา นำเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานเขตทวีวัฒนา โดยมีชื่อว่า "โครงการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ (SAVE WORLD – SAVE ENERGY)"
- คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร ได้เห็นชอบและมีมติให้โครงการของสำนักงานเขตทวีวัฒนา "ผ่าน" พร้อมได้มีข้อเสนอแนะเล็กน้อยให้หน่วยงานนำไปพัฒนานวัตกรรม ประจำปีพ.ศ. 2567 เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุดต่อไป
-คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร มีหนังสือที่ กท 0305/524 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2567 แจ้งผลการพิจารณาโครงการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ (SAVE WORLD – SAVE ENERGY) ของสำนักงานเขตทวีวัฒนา โดยมีเป้าหมายที่ต้องประดิษฐ์ ไม่น้อยกว่า 10 ชิ้น และภายหลังการนำนวัตกรรมไปใช้ ต้องไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่จากการขนย้ายเก้าอี้จำนวนมาก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ แจ้งมติที่ประชุมว่า ผ่าน และให้หน่วยงานปรับปรุงโครงการเพิ่มเติม ตามมติของกรรมการ
- สำนักงานเขตทวีวัฒนา ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมอุทยาน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด
| |
2024-01-26 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูล เพื่อนำเสนอนวัตกรรมในที่ประชุมวันที่ 8 ก.พ. 67 | |
2024-02-28 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | -เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 67 ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา นำเสนอโครงการนวัตกรรมของสำนักงานเขตทวีวัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งใช้ชื่อว่า "รู้ก่อนรับกับพัฒนาชุมชนฯ" โดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้โครงการที่หน่วยงานได้นำเสนอไปก่อนหน้า "ไม่ผ่าน" พร้อมเสนอแนะให้หน่วยงานปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ และกำหนดวันประชุมพิจารณาโครงการในครั้งถัดไป ในวันที่ 14 มี.ค. 67
- เมื่อวันที่ 15 ก.พ 67 ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เพื่อร่วมกันปรับปรุงแนวคิดนวัตกรรมฯ ให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการฯ ตามหนังสือที่ กท 0305/6015 และจัดส่งโครงการให้สำนักงาน ก.ก. ภายในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567
| |
2024-07-26 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | - สำนักงานเขตทวีวัฒนาได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานดำเนินโครงการฯ ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ณ ห้องประชุมอุทยาน เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ "ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ (SAVE WORLD – SAVE ENERGY)" และรับฟังความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจประเมินผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร
| |
2024-08-07 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | ปัจจุบันอยู่ระหว่่างติดตามการนำนวัตกรรมไปใช้จริง และการทอดแบบสำรวจความพึงพอใจแก่ผู้ใช้นวัตกรรมเพื่อให้ครบตามจำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ฯ | |
2023-11-30 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | การค้นหาและคัดเลือกแนวคิด : สำนักงานเขตทวีวัฒนาจัดให้มีประชุมพิจารณาคัดเลือกแนวคิดเพื่อจัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เมื่อวันที่ วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566
โดยมีผลการพิจารณาจัดเรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1. แนวคิดรู้ก่อนรับกับพัฒนาชุมชนฯ
2. แนวคิดสร้างเครือข่ายการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน
3. แนวคิดรุกขกรรมออนไลน์ (ARBORICULTURE Online)
| |
2023-12-31 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | จัดทำแบบเสนอแนวคิด (แบบฟอร์ม 3 ) และโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) ส่งให้ สกก. ทั้งนี้ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของสกก.อย่างต่อเนื่อง | |
2024-05-23 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | การประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ ได้ครบตามเป้าหมาย จำนวน10 ชิ้น | |
2024-06-30 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | - จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวหับหลักการยศาสตร์ในการปฏิบัติงาน -
สำนักงานเขตทวีวัฒนา ได้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ตามหลักการยศาสตร์ ในการปฏิบัติงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมเทพผดุงพร สำนักงานเขตทวีวัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้
ในการปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องใช้กำลัง รวมถึงการยก และการเคลื่อนย้ายสิ่งของ ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่มาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก ทั้งยังสร้างความตระหนักรู้ ความสำคัญของอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อาการเมื่อยล้า หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ อันเกิดจากการออกแรงกล้ามเนื้อที่มากเกินไป เกินความสามารถในการรับน้ำหนัก โดยมี นางสาวนันทญา เขียวแสวงหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการดังกล่าว พร้อมนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ได้มีการแนะนำเครื่องทุ่นแรง SAVE WORLD SAVE ENERGY ที่ได้ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และถือเป็นชิ้นงานนวัตกรรมที่โดดเด่นของสำนักงานเขต พร้อมสาธิตวิธีการใช้งานเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการขนย้ายสิ่งของ และลดอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่เกิดจากการออกแรงกล้ามเนื้อที่มากเกินไป
| |
2024-09-30 00:00:00.0000000 | 5.00 |  | สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ
ชื่อโครงการ โครงการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ (SAVE WORLD – SAVE ENERGY)
ตัวชี้วัดที่ 1 นวัตกรรมที่พัฒนา คือ เครื่องทุ่นแรงจากวัสดุเหลือใช้ (SAVE WORLD – SAVE ENERGY)
รายละเอียดการดำเนินงาน : รวบรวมวัสดุเหลือใช้จากการจัดเก็บขยะ และมาประดิษฐ์เป็นเครื่องทุ่นแรง จำนวน 10 ชิ้น
ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม
รายละเอียดการดำเนินงาน : วัดจากแบบสอบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 480 คน
ได้แก่ บุคลากรภายในสำนักงานเขต จำนวน 350 คน และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยงานภายนอก คือ
วัดในพื้นที่ จำนวน 15 คน
โรงเรียนในสังกัด จำนวน 15 คน
ชุมชนในพื้นที่ จำนวน 100 คน
ทั้งนี้ ผลความพึงพอใจโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 98.425
ตัวชี้วัดที่ 3 ประโยชน์ของนวัตกรรม
รายละเอียดการดำเนินงาน : ตั้งแต่เดือนมีนาคม - กันยายน 2567 พบว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่การขนย้ายเก้าอี้ จำนวน 0 ราย (ไม่มีผู้บาดเจ็บ) โดยมีการรายงานต่อผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนาทราบในทุกเดือน
มีการนำนวัตกรรมไปใช้ภายในปีงบประมาณ ตั้งแต่ มีนาคม 2567 - กันยายน 2567
| |
2024-04-30 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | สำนักงานเขต ได้นำเสนอการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมฯ ในที่ประชุมการตรวจติดตามผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระยะครึ่งปีงบประมาณ) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 | |
2024-04-30 00:00:00.0000000 | 0.00 |  | อยู่ระหว่างการพัฒานานวัตกรรม โดยพัฒนาคุณสมบัติและลักษณะตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ กล่าวคือ มีการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงเพิ่ม ให้ครบได้เป้าที่ตั้งไว้ (10 ชิ้น) ขณะเดียวกันมีการปรับปรุง/ทดลองใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งาน | |