รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7228

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 50

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7228
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการศูนย์ โสต ศอ นาสิก พื้นที่กรุงเทพตะวันออก
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-910
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด50
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล ในปัจจุบัน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (aged society) แล้วซึ่งโครงสร้างของประชากรมีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามรายงานกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งพบว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ทั้งสิ้นมากกว่า ๑๒ ล้านคนเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมดในพ.ศ. 2564 โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ทั้งสิ้น 10,014,705 คน เป็นสัดส่วนร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุที่มีการบกพร่องการได้ยินโดยได้ยินชัดเจนเมื่อต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ร้อยละ 2.8 ได้ยินไม่ชัดเจน ร้อยละ 11.7 และไม่ได้ยินเสียงเลย ร้อยละ 0.3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ได้เปิดบริการคลินิกตรวจการได้ยิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 มีจำนวนผู้รับบริการตรวจการได้ยินโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2556 – 2559 เป็น 719.0 ราย (ปี 2556 จำนวน 665 ราย ปี 2557 จำนวน 631 ราย ปี 2558 จำนวน 861 ราย) และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2556 – 2559 เป็น 69.67 ราย (ปี 2556 จำนวน 96 ราย ปี 2557 จำนวน 46 ราย ปี 2558 จำนวน 67 ราย) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีแนวโน้มที่จะตรวจพบผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังเพิ่มขึ้นในอนาคต
จากนโยบายการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ซึ่งประกอบด้วยการทำให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งความสุขมากขึ้น โดยดำเนินการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีมากขึ้นซึ่งรวมถึงการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรด้วย นอกจากนี้นโยบายการบริหารงานสำนักการแพทย์ ปี 2559 ยังรวมถึงการเพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ให้เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงและตติยภูมิด้วย ตลอดจนพันธกิจของสำนักการแพทย์ในการเป็นผู้นำในการจัดเครือข่ายบริการทางการแทพย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานระดับสากลโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
ดังที่กล่าวมาในข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องมีการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสิรินธรซึ่งแต่เดิมมีการเปิดให้บริการตรวจระดับการได้ยิน (audiogram) ในผู้ป่วยที่มีภาวะการได้ยินที่ผิดปกติและตรวจการตอบสนองการได้ยินระดับก้านสมอง (auditory brainstem response: ABR) โดยนักเวชศาสตร์สื่อความหมายทั้งตำแหน่งข้าราชการและบุคคลภายนอก ตลอดจนการให้การวินิจฉัยโดยโสต ศอ นาสิกแพทย์ และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลใกล้เคียง โดยนอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการการวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังจะต้องส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินไปยังสถานพยาบาลอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องมีการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้บริการผู้ป่วยผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังให้สามารถรับเครื่องช่วยฟังและรับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างเหมาะสม โดยปัจจุบันในแถบกรุงเทพตะวันออก จำนวนโรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินยังคงมีน้อยทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางเข้าไปทำการรักษากับโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ทำให้มีระยะเวลารอคอยการรักษาที่นาน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ในอนาคตอันใกล้และเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 และนโยบายการบริหารงานสำนักการแพทย์และพันธกิจของสำนักการแพทย์ต่อไป
นอกจากนี้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในประเทศจีน และมีการแพร่ระบาดใหญ่ไปในหลายประเทศทั่วโลก (Pandemic) (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศไทยตามมา โดยอาการของโรค คือ มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งถือเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious disease) ของระบบทางเดินหายใจที่มีการแพร่กระจายเชื้อผ่านฝอยละอองขนาดเล็ก การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศในสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ
โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ เป็นสถานพยาบาลที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) นับเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของโรงพยาบาล และในสถานการณ์ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และห้องตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก มีภารกิจในการให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาและทำหัตถการของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิก โดยการตรวจรักษาดังกล่าวมีการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยและมีลักษณะเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอย (aerosol generating procedures) ดังนั้นกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสิรินธรได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มศักยภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและบุคลากรภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยการเพิ่มเครื่องมือตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการทางการแพทย์ ได้แก่ กล้องส่องตรวจและถ่ายทอดสัญญาณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินหายใจส่วนต้นพร้อมกล้องส่องตรวจชนิดเคลื่อนย้ายได้ เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาถูกเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องตามหลักการป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้ป่วยและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งจากการแพร่กระจายทางการสัมผัสสารคัดหลั่งและทางอากาศ
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย(ไม่ได้ตั้ง)
ผู้รับผิดชอบนางสาววนศรี ไพศาลตันติวงศ์ โทร 10253
ผู้ตรวจประเมินกลย.สยป. โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ50 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 250
ผลงานเดือนที่ 350
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 450
ผลงานเดือนที่ 550
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 20.0 1 ไม่มี อยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินโครงการ
2023-01-20 20.0 1 ไม่มี 20/01/2566 : เข้าร่วมโครงการการนัดหมายผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกส่งต่อ
2023-02-21 10.0 1 ไม่มี 21/02/2566 : ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการคงที่เพื่อรับการรักษาต่อสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ภูมิลำเนาผู้ป่วย
2023-03-22 50.0 1 ไม่มี เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 -16.00 น. ณ คลินิกโสต ศอ นาสิก ชั้น 2 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร
2023-04-19 50.0 1 ไม่มี 19/04/2566 : รับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ ตุลาคม - ธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.95 ของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกทั้งหมด โดยยอดผู้ป่วยรับส่งต่อ 300 ราย (ยอดผู้ป่วยทั้งหมด 4,316 ราย)
2023-05-19 50.0 1 ไม่มี 19/05/2566 : 1. เข้าร่วมโครงการการนัดหมายผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกส่งต่อ 2. ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการคงที่เพื่อรับการรักษาต่อสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ภูมิลำเนาผู้ป่วย