รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7258

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 80

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7258
ปี2566
ชื่อโครงการห้องผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก (Charoenkrung Cardiac Surgery Center, CCSC)
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-891
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)152,848,090
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด80
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลเนื่องด้วยโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลเดียวในสำนักการแพทย์ที่มีศักยภาพในการผ่าตัดหัวใจ ทรวงอก และหลอดเลือด ทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ โดยสถิติการผ่าตัดปีพุทธศักราช 2561 ปีการผ่าตัดหัวใจจำนวน 72ราย และผ่าตัดปอดรวม 25ราย และล่าสุดสถิติการผ่าตัดปีพุทธศักราช 2563 แม้ว่าจะมีวิกฤต COVID-19 แต่จำนวนผู้ป่วยที่รอคิวผ่าตัดยังคงมีจำนวนมาก โดยทั้งปีการผ่าตัดหัวใจจำนวน 86 ราย และผ่าตัดปอดรวม 33 รายและมีแนวโน้มสูงขึ้นในปีต่อไป และยังมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์หัวใจของทางสำนักการแพทย์ ที่จะเป็นศูนย์รับรีเฟอร์จากโรงพยาบาลอื่นๆในสังกัดสำนักการแพทย์ อาทิเช่น โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวศักดิ์ฯ เป็นต้น
โดยการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกของทางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์นั้นได้มีทำการผ่าตัดที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่ ทั้งการผ่าตัดแบบใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม การผ่าตัดแบบไม่หยุดหัวใจ การผ่าตัดแบบส่องกล้อง(ทั้งแบบ1-3 แผล) การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การผ่าตัดหัวใจเด็กทารกแรกเกิด(น้ำหนัก <2000 กรัม) การผ่าตัดหลอดเลือดด้วยการผ่าเปิด และใส่ขดลวด เป็นต้น โดยการผ่าตัดและตรวจรักษา ได้มีการพัฒนาศักยภาพและวิทยาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในปีพุทธศักราช 2563 ทางหน่วยงานศัลยกรรมหัวใจทรวงอกได้เพิ่มขีดความสามารถ โดยการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอาทิ Bentall operation, Ascending with Hemiarch aortic replacement และ ventricular septal defect closure เป็นต้น, มีการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ขดลวด hybrid TEVAR, ผ่าตัดแผลเล็ก ministernotomy AVR เป็นต้น
นอกจากนี้ทางหน่วยงานศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกยังเป็นที่รู้จักทั้งภาคประชาชนและสื่อ ดังจะเห็นได้จากการตอบรับจากการจัดเสวนาเพื่อประชาชนในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก และการได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมต่างๆ ให้สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศในโรคเฉพาะทาง หรือโรคที่มีความซับซ้อนสูง (Service Excellence) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑.๒ โครงการก่อตั้งศูนย์โรคหัวใจ (รพจ.)

ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมฐานรากการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญให้ครบถ้วนและมั่นคง (Strengthen our foundation) เป้าประสงค์ที่ ๑.๕เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาให้บริการตามแผนยุทธศาสตร์เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety)
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการอุปทานให้สอดคล้องกับบทบาทโรงเรียนแพทย์ (Managing Demand) เป้าประสงค์ที่ ๓.๑ เพื่อให้บุคลากรได้รับการพัฒนาตนเองตามแผนหรือเป้าหมายอย่างชัดเจนและเสมอภาค เป้าประสงค์ที่ ๓.๔ เพื่อจัดให้มีสถานที่/สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เพียงพอ และการบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety)
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างนวัตกรรมและความโดดเด่นสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Leading in Care and Training) เป้าประสงค์ที่ ๔.๒ เพื่อพัฒนาต่อยอดศูนย์ความเป็นเลิศเดิมเป็น Advanced Training Center ทั้งการบริการ การฝึกอบรม และเป็นที่ศึกษาดูงาน เป้าประสงค์ที่ ๔.๓ เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์ความเป็นเลิศใหม่ เป้าประสงค์ที่ ๔.๔ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อนโดยการสร้างเครือข่ายกับ รพ.ใกล้เคียงทั้งภาครัฐ เอกชน เป้าประสงค์ที่ ๔.๕ เพื่อให้เกิดงานวิจัยทางการแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น ตามแผนยุทธศาสตร์ เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety)
การดำเนินงานของหน่วยศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ของโรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์ ได้รับความพึงพอใจและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการเป็นอย่างดียิ่ง โดยวัดจากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านการตรวจรักษาและผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นมาตลอด รวมทั้งผลงานวิจัย การได้รับเป็นวิทยากร ที่ได้นำเสนอทั้งในและต่างประเทศ การได้เตรียมแผนงานด้านการเรียนการสอนและการนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อย่างไรก็ตามปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และ หลังผ่าตัดยังต้องใช้พื้นที่ เครื่องมือ และบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ทั้งแผนกผู้ป่วยทั่วไป และพิเศษ ของศัลยกรรมทั่วไปและอายุรกรรมทั่วไป, หอผู้ป่วยอภิบาลหัวใจ (CCU ชั้น 17), แผนกผู้ป่วยนอกที่ห้อง สวนหัวใจชั้น 5 ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้โดยลำบาก ขาดความต่อเนื่อง และความพร้อมในการดูแลรักษา

หน่วยงานย่อยของทางศูนย์โรคหัวใจแบ่งเป็น
▪ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (Cardiac care unit): ปัจจุบันหอผู้ป่วย CCU ซึ่งใช้รวมกันทั้งผู้ป่วยอายุร- กรรมโรคหัวใจ ศัลยกรรมหัวใจ และผู้ป่วยหลังการฉีดสี มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยหนักที่วิกฤต และซับซ้อน แต่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพ กล่าวคือ จำนวนเตียงที่รองรับจำนวนผู้ป่วยมีจำกัดเพียง 8 เตียง แต่ต้องดูแลผู้ป่วยฉีดสีหัวใจ(ประมาณ 800เคส/ปี) ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว (ประมาณ 300 เคส/ปี) และผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจและทรวงอก(72 ราย/ปี) จึงทำให้เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาของโรงพยาบาลและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
▪ ศัลยกรรมหัวใจ (Cardiac surgery): โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นโรงพยาบาลแรกและโรงพยาบาลเดียวในสังกัด สำนักการแพทย์ที่มีศักยภาพในการผ่าตัดหัวใจ ทั้งจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก และโรคหัวใจในผู้สูงอายุ อาทิเช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว โรคเส้นเลือดหัวใจเอออร์ตา ทั้งจากการผ่าตัดใหญ่และการผ่าตัดด้วยการใส่ขดลวด โดยหน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 และเริ่มมีศัลยแพทย์หัวใจประจำ (full time) ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถของหน่วยงานก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
▪ Heart failure clinic: เริ่มมีการตั้งheart failure clinicในปีพ.ศ.2561 โดยจะดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยการให้ยา ให้ข้อมูลสุขศึกษาและจัดส่งต่อผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือส่งต่อผู้ป่วยไปแผนกศัลยกรรมหัวใจ เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
▪ Clinic warfarin: หน่วยงานเภสัชกรรมได้จัดตั้ง warfarin clinic เพื่อดูแล ให้ข้อมูล ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้ระดับยาคงที่อยู่ในค่าการรักษา และเกิดภาวะข้างเคียงจากยาให้ต่ำที่สุด
▪ Cath lab: แผนกสวนหัวใจได้ทำการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยและทำการใส่ขดลวดเพื่อการรักษาประมาณ 800เคสต่อปีและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จนปัจจุบันศูนย์ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจได้ทำการยกระดับการรักษา(ตามข้อกำหนดของสมาคมอายุรแพทย์โรคหัวใจ) และอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดได้ตลอด 24 ชั่วโมง
▪ แผนกกระตุ้นหัวใจ(Electrophysiology study): โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้มีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ด้วยการจี้ไฟฟ้าด้วยเครื่องความถี่สูง และการติดตามบันทึกคลื่นหัวใจ24-48ชั่วโมงเพื่อการวินิจฉัย
▪ Cardiac rehabilitation: มีการตรวจสุขภาพและติดตาม รวมถึงการฟื้นฟู สมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาและการผ่าตัดโดยนักกายภาพและแพทย์กายภาพบำบัดหัวใจ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

เนื่องด้วยห้องผ่าตัดหัวใจเดิมนั้นอยู่ในห้องผ่าตัดรวม มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพ ทั้งทางด้าน
▪ ขนาดที่เล็ก ไม่เพียงพอต่อเครื่องมือทั้งเครื่องปอดหัวใจเทียม เครื่องพยุงหัวใจ เครื่องอัลตร้าซาวน์หัวใจ(transesophageal echocardiography) เครื่องวัดหลอดเลือดบายพาส และไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ สปสช.เป็นต้น
▪ สถานที่ตั้ง โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ซึ่งห่างไกลจากหออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ(ชั้น 17)
▪ ขาดความพร้อมในการจัดวางอุปกรณ์สำหรับช่วยผ่าตัดหัวใจเป็นจำนวนมาก

อีกทั้งปัจจุบันแนวโน้มของการผ่าตัดหัวใจจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยเองก็มีอายุสูงมากขึ้น โรคประจำตัวที่มากขึ้น การผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โดยในปัจจุบันได้มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้หลายการผ่าตัดมีรูปแบบการผ่าตัดที่มีการใช้เครื่องฟลูออโรสโคป(Fluoroscope) เพื่อทำการผ่าตัดการใส่ขดลวด(thoracic endovascular aortic repair (TEVAR, Endovascular abdominal aortic repair (EVAR)) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ร่วมทั้งแบบผ่าเปิดและใส่ขดลวด (Hybrid aortic surgery) การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกทางขาหนีบ (transcatheter aortic valve replacement, TAVR/TAVI) การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลทางขาหนีบ (transcatheter mitral repair, annuloplasty, commisuroplasty (Mitraclip) etc.) เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดเหล่านี้จะสามารถผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัดไฮบริด ซึ่งมีความพร้อมรองรับการผ่าตัด หากการทำหัตถการเกิดความผิดพลาดขึ้น อีกทั้งการทำหัตถการในห้องไฮบริดยังมีประสิทธิภาพมากกว่าการผ่าตัดในห้องปกติ มีความสะอาด และได้มาตรฐานการกรองอากาศ (laminar airflow, Hepa filter) เนื่องจากการผ่าตัดหัวใจเป็นการผ่าตัดที่สะอาด และหากเกิดการติดเชื้อจากการผ่าตัด จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตตามมาได้
นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2562 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จะขยายขีดความสามารถทางด้านห้องสวนหัวใจ โดยการจัดตั้งห้องสวนหัวใจแบบ 2 หัว (Biplane cath lab) เพื่อที่จะสามารถทำหัตถการทางด้านการสวนหัวใจแบบซับซ้อนได้ ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ใส่อุปกรณ์ปิดหนังกั้นหัวใจรั่วได้ การกรอเส้นเลือดด้วยหัวกรอพิเศษ (Rotablator) เป็นต้น ซึ่งการทำหัตถการที่ซับซ้อนมากขึ้น ย่อมต้องโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นการเตรียมห้องผ่าตัดที่สามารถให้บริการได้อย่างทันท่วงที จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันทางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้เริ่มทำหัตถการที่ซับซ้อนบ้าง โดยแก้ไขการไม่มีห้องผ่าตัดใกล้เคียงด้วยการเตรียมห้องผ่าตัดใหญ่ไว้ 1 ห้อง (standby OR) ในวันและเวลาที่จะมีการทำหัตถการดังกล่าว เหตุผลและความจำเป็นอีกหนึ่งข้อคือ ชั้น 5 ของพื้นที่ของตึก 72 พรรษามหาราชินีนี้จะเป็นศูนย์รวมของห้องสวนหัวใจ 1ระนาบ และห้องสวนหัวใจ 2 ระนาบ โดยจึงเป็นการดีที่จะมีห้องผ่าตัดหัวใจควบคู่และหออภิบาลผู้ป่วยหนักหลังผ่าตัดหัวใจอยู่ในชั้นและบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นการรวมศูนย์โรคหัวใจที่ดี และเป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจของทั้งทางโรงพยาบาล และทางสำนักการแพทย์ ในอนาคต
ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ จึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้ง ห้องผ่าตัดหัวใจไฮบริด (Bangkok Metropolitan Excellence Cardiac Surgery: BMECS) เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการบริการด้านการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอกที่เป็นเลิศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการเรียนการสอน ต่อยอดแพทย์ด้านผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์๒.๑ เพื่อเป็นศูนย์บริการด้านศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากลและมีความเพียงพอกับความต้องการ การใช้บริการของผู้ป่วย
๒.๒ เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาฝึกอบรมของบุคลากรการแพทย์
๒.๓ เพื่อเป็นห้องผ่าตัดที่สามารถทำหัตถการที่ซับซ้อนทางหัวใจ หลอดเลือด ทรวงอก และสาขาอื่น ๆ ได้
๒.๔ เพื่อเป็นห้องผ่าตัดสำหรับกรณีการทำหัตถการสวนหัวใจแล้วมีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินได้
๒.๕ เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับแพทย์ นักศึกษาแพทย์และบุคลากรที่ร่วมปฏิบัติงานตามหลักสูตรที่กำหนด ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ให้ได้ศึกษาด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และผู้ป่วยที่มีความหลาหลายของโรค
๒.๖ เตรียมพร้อมการเป็นศูนย์หัวใจที่มีศักยภาพเป็นศูนย์รับรีเฟอร์ (cardiac referral center)
๒.๗ เตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือที่มีคุณภาพ ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งเดิมอุปกรณ์และเครื่องมือหลายชิ้นอยู่ในสภาพชำรุดและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
เป้าหมาย๓.๑ เพื่อความเป็นเลิศของสำนักการแพทย์ (Bangkok Metropolitan Excellence Cardiac Surgery: BMECS)
๓.๒ เพื่อรองรับการเป็นโรงเรียนแพทย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ที่มีความพร้อมของศัลยกรรมหัวใจและศูนย์โรคหัวใจที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และมีความพร้อมด้านโครงสร้าง คือห้องตรวจ ห้องผ่าตัด และห้องประชุมกลุ่มย่อย
๓.๓ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยด้านโรคหัวใจของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สามารถดูแลได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมคุณภาพ การให้ความรู้สุขศึกษา การดูแลรักษาผู้ป่วยนอก การดูแลรักษาผู้ป่วยใน และผู้ป่วยหนัก จนไปถึงการรักษาด้วยการทำคลื่นความถี่สูง การรักษาด้วยการผ่าตัด และการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด
๓.๔ เพื่อรองรับการดูแลและรักษาประชาชน ทั้งที่อยู่ และไม่ได้อยู่ในสังกัด กทม และเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการดูแลรักษาที่เป็นเลิศด้านโรคหัวใจ
๓.๕ เพื่อลดอัตราตายจากความไม่เท่าเทียมของการดูแลรักษา ทั้งการให้ยา ทำหัตถการ และลดคิวผ่าตัดจากโรงเรียนแพทย์
๓.๖ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมและดูงานสำหรับแพทย์ นักศึกษาและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
ผู้รับผิดชอบนพ.ภูวดล ฐิติวราภรณ์
ผู้ตรวจประเมินกยล.สยป.โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ80 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 280
ผลงานเดือนที่ 380
ผลงานเดือนที่ 180
ผลงานเดือนที่ 480
ผลงานเดือนที่ 580
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-30 5.0 1 ไม่มี 30/12/2565 : ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำโครการ เพื่อเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน
2023-01-16 20.0 1 ไม่มี 16/01/2566 : ขั้นตอนที่ 1 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ และค่าใช้จ่ายโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงราคากลาง ซึ่งในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์ รายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบ เพื่อลงประกาศลงร่าง TOR โดยอำนาจเป็นของ รอง ผอ.สนพ.
2023-02-08 20.0 1 ไม่มี 08/02/2566 :อยู่ระหว่างขั้นตอนที่2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยรายงาน ดังนี้ 1.ส่วนการก่อสร้าง โยธาอนุมัติแบบแล้ว และอยู่ระหว่างจัดส่งเอกสารมาที่รพจ. 2.ส่วนครุภัณฑ์ อยู่ขั้นตอน TOR
2023-03-13 20.0 1 ไม่มี 13/03/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอนที่ 2 รายงานขอความเห็นชอบจัดจ้างและประกาศร่าง TOR
2023-04-12 20.0 1 ไม่มี 12/04/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ - ลงประกาศร่าง TOR (ประกาศตั้งแต่ 27 - 30 มีนาคม 2566)
2023-05-15 20.0 1 ไม่มี 15/05/2566 : ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ ดังนี้ - ส่วนของการปรับปรุงห้อง อยู่ระหว่างปรับปรุงร่าง TOR - ส่วนของการจัดหาครุภัณฑ์ จำนวน 19 รายการ อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบ