รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 08000000-7157

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 60

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ08000000-7157
ปี2566
ชื่อโครงการกิจกรรมจัดบริการคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK PRIDE CLINIC)
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0800-6755
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด60
หน่วยงานสำนักอนามัย
Start Date2023-10-01 00:00:00.000
Finish Date2024-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล กลุ่มหลากหลายทางเพศถือได้ว่าเป็นกลุ่มสำคัญที่ควรส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ครบวงจร จากการคาดประมาณจำนวนกลุ่มประชากรหลากหลายทางเพศของกรุงเทพมหานคร พบว่ามีกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 81,537 ราย กลุ่มสาวประเภทสองจำนวน 26,804 ราย จากผลการเฝ้าระวังความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2564 พบว่า กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 9.1 กลุ่มสาวประเภทสองติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ6.6 กลุ่มพนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานที่สาธารณะ (FSW-Non-Vanue) ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 5.9 กลุ่มชายที่มาตรวจรักษากามโรค ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 3.20 สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 100.53 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นอันดับสองของประเทศไทยรองจากจังหวัดภูเก็ต ข้อมูลจากบัตรรายงานผู้ป่วย รง 506 ของสำนักอนามัย พบผู้ป่วย 6,450 คน โรคที่พบมากที่สุดคือ ซิฟิลิส 2,276 คน รองลงมาคือ หูดอวัยวะเพศและทวารหนัก เริมที่อวัยวะเพศ หนองใน และหนองในเทียม โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
กรุงเทพมหานครมีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ยุติปัญหาเอดส์ของกรุงเทพมหานคร ปี 2560-2573 โดยเร่งรัดการดำเนินงาน Fast Track 95 : 95 : 95 ใช้กลยุทธ์ RRTTR (Reach Recruit Test Treat Retain) ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่องเสมอมา เพื่อเป็นการขยายบริการซึ่งสอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องการนำร่อง พัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย Pilot LGBTQI + Clinic ซึ่งส่งผลให้ สุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีความหลากหลายทางเพศดีขึ้น เนื่องจากเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ไม่กังวลเรื่องการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตรและเชื่อมั่นในการรักษา การให้คำแนะนำทางสุขภาพแบบเฉพาะทาง สำนักอนามัย โดยกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีเป้าหมายนำร่อง พัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โดยเพิ่มความครอบคลุมของการให้บริการคลินิกสุขภาพเพสหลากหลาย(นำร่องกลุ่มเขต) และกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน โดยการเปิด BKK Pride Clinic จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 แห่ง ภายปี 2565 (ทั้ง 6 กลุ่มเขต กทม.)
วัตถุประสงค์เพื่อนำร่องและขยายคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Pride Clinic) โดยมีบริการตรวจระดับฮอร์โมนในกลุ่มคนข้ามเพศ บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ตรวจรักษาเอชไอวี ซิฟิลิสและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตรวจสุขภาพทวารหนักและช่องคลอด รวมถึงบริการยา PrEP/PEP ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เป้าหมายเปิด BKK Pride Clinic จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 แห่ง ภายปี 2565 (ทั้ง 6 กลุ่มเขต กทม.)
ผู้รับผิดชอบกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ตรวจประเมินกยล.สยป.1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ60 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 260
ผลงานเดือนที่ 360
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 460
ผลงานเดือนที่ 560
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-31 5.0 1 ไม่มี 31/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยปัจจุบันมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Pride Clinic) ทั้งสิ้นจำนวน 16 แห่ง (เป้าหมาย 6 แห่ง) แล้ว ดำเนินการเปิดคลินิก ทั้ง16 แห่ง เรียบร้อยแล้วภายในเดือนธันวาคม และมีการวางแผนเพื่อขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.
2023-02-15 40.0 1 ไม่มี 15/02/2566 : - ปัจจุบันมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Pride Clinic) ทั้งสิ้นจำนวน 16 แห่ง (เป้าหมาย 6 แห่ง) แล้ว โดยดำเนินการเปิดคลินิก ทั้ง16 แห่ง เรียบร้อยแล้วภายในเดือนธันวาคม และมีการวางแผนเพื่อขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม. - จัดกิจกรรมแนะนำเครือข่ายบริการ ความหลากหลายทางเพศ โดยมีเครือข่าย ดังนี้ รพ.รามาฯ/ รพ.จุฬาฯ/ คลินิกTangerine/ SWING/ RSAT - จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ BKK Pride Clinic ณ หอศิลปวัฒนธรรม เนื่องในงานวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ จากรายงานข้อมูลผู้มารับบริการ BKK Pride Clinic ณ ปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 7,475 ราย
2023-03-23 45.0 1 ไม่มี 17/03/2566 : เป้าหมายพัฒนาคลินิกนำร่องสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK Pride clinic) จำนวน 6 แห่ง ปัจจุบันดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกนำร่องสุขภาพเพศหลากหลาย กรุงเทพมหานคร (BKK Pride clinic) โดยศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งสิ้น จำนวน 16 แห่ง (ภายในเดือนธันวาคม 2565) การให้บริการตั้งแต่เริ่มดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้ -ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 312 ราย -ตรวจวัดระดับฮอร์โมน 59 ราย -ตรวจคัดกรอง HIV/STI 2,201 ราย -โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 47 ราย -ตรวจ/รักษาซิฟิลิส 1,366 ราย -รับบริการยา PrEP 697 ราย -รับบริการยา PEP 649 ราย
2023-04-24 55.0 1 ไม่มี การให้บริการตั้งแต่เริ่มดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2565 - มีนาคม 2566 ดังนี้ -ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 324 ราย -ตรวจวัดระดับฮอร์โมน 67 ราย -ตรวจคัดกรอง HIV/STI 3,163 ราย -โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 75 ราย -ตรวจ/รักษาซิฟิลิส 1,737 ราย -รับบริการยา PrEP 955 ราย -รับบริการยา PEP 680 ราย
2023-05-18 60.0 1 ไม่มี 15/05/2566 : การให้บริการตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมษายน 2566 ดังนี้ -ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 0 ราย -ตรวจวัดระดับฮอร์โมน 0 ราย -ตรวจคัดกรอง HIV/STI 201 ราย -โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ 7 ราย(เชื้อรา 1 ราย/หนองใน 5 ราย/เริม 1 ราย) -ตรวจ/รักษาซิฟิลิส 149 ราย -รับบริการยา PrEP 31 ราย -รับบริการยา PEP 5 ราย ผู้รับการ ทำแบบประเมินความพึงพอใจ 132 คน พอใจมาก 122 คน คิดเป็นร้อยละ 92.4 พอใจมาก 10 คน ร้อยละ 7.6