รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 18000000-6670

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 89

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ18000000-6670
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)
Policy ID34
Branch ID1402
Kpi ID1800-847
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)27,731,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด89
หน่วยงานสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครมีผังเมืองรวมประกาศใช้บังคับครั้งแรกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ซึ่งเป็นผังเมืองรวมที่วางและจัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จากนั้นกรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผังเมืองให้เป็นผู้วางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๒) นับเป็นผังเมืองรวมฉบับแรกที่ดำเนินการโดยหน่วยงานท้องถิ่น จนมาถึงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๓) มีผลใช้บังคับโดยกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
พระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๒๖ กำหนดไว้ สำนักผังเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่ากฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖ ใช้บังคับมา ๓ ปีแล้ว และอยู่ระหว่างการประเมินผลผังเมืองรวม ซึ่งพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญหลายประการซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมือง โครงการพัฒนาของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้ก่อสร้างขึ้นหลายสายและหลายโครงการมีการขยายสายทางเพิ่มมากขึ้นกว่าที่แผนงานเดิมเคยกำหนด รวมทั้งมีโครงการขนาดใหญ่ของภาคเอกชนเกิดขึ้นในหลายบริเวณ ตลอดจนมีการขยายตัวของกิจกรรมโลจิสติกส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่โดยรอบ อีกทั้งการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่ผ่านมามาตรการที่ใช้บังคับส่วนใหญ่มีลักษณะการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Control) ซึ่งจัดเป็นมาตรการเชิงลบ (Negative measure) เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเมืองสามารถบรรลุผลโดยสมบูรณ์มากขึ้น ย่อมต้องอาศัยมาตรการทางด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ได้แก่ มาตรการเชิงบวก (Positive measure) และมาตรการสร้างความเป็นธรรม (Corrective measure) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๔) ตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ พร้อมกับการปรับปรุงมาตรการทาง ผังเมืองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีผังเมืองรวมที่สอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้บังคับผังเมืองรวมให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้น
-ขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวม ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2562
1.แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาฯ/ขออนุมัติปรับปรุงผัง
2.สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3.วางและจัดทำร่างผังเมืองรวม/ประชาชนให้ข้อคิดเห็น
4.คณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมเห็นขอบร่างผังเมืองรวม
5.ปิดประกาศและประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน
6.ปรับปรุงร่างผังเมืองรวมหลังประชุมประชาชน
7.คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมเห็นชอบร่างผังเมืองรวม
8.กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม
9.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดให้ความเห็นต่อร่างผังเมืองรวม
10.ปิดประกาศ 90 วัน /ประชาชนยื่นคำร้อง
11.คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวม กทม.พิจารณาคำร้อง
12.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดพิจารณาคำร้อง
13.กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาคำร้อง
14.คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดแจ้งผลพิจารณาคำร้อง
15.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ ต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ
16.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ ต่อสภากรุงเทพมหานครพิจารณา (3 วาระ)
17.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในข้อบัญญัติฯ
18.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายเหตุ การดำเนินการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2563 คือ ขั้นตอนเตรียมการและประชาสัมพันธ์เพื่่อเชิญชวนผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องระหว่างขั้นตอนปิดประกาศ 90 วัน และเตรียมการและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนภาคการเมือง เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนและวิธีการในการยื่นคำร้อง
วัตถุประสงค์เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมการพัฒนนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และประกาศกฎกระทรวงใช้บังคับต่อเนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
เป้าหมายวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุครั้งที่ 4) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมการพัฒนาเมืองที่เปลี่นแปลงไปและประกาศเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครใช้บังคับต่อเนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ผู้รับผิดชอบสำนักงานวางผังเมือง
ผู้ตรวจประเมินนายกังวาน จันทร์ประเสริฐ (1549)
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ89 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 189
ผลงานเดือนที่ 189
ผลงานเดือนที่ 289
ผลงานเดือนที่ 389
ผลงานเดือนที่ 189
ผลงานเดือนที่ 489
ผลงานเดือนที่ 589
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 88.0 1 ไม่มี 29/12/2565 : 1.ที่ปรึกษาดำเนินการตามสัญญาฯ 2.อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลการตรวจรับฯ ความก้าวหน้าโครงการ 88.30 (ระบบรายงานเป็นจุดทศนิยมไม่ได้)
2023-01-27 88.0 1 ไม่มี 27/01/2566 : 1.ที่ปรึกษาดำเนินการตามสัญญาฯ 2.อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลการตรวจรับฯ ความก้าวหน้าโครงการ 88.30 (ระบบรายงานเป็นจุดทศนิยมไม่ได้)
2023-02-24 88.0 1 ไม่มี 24/02/2566 : (1) ที่ปรึกษาดำเนินการตามสัญญาฯ (2) จัดทำประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้ว่าราชการ กทม. (2) อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลการตรวจรับฯ ความก้าวหน้าโครงการ 88.40 (ระบบรายงานเป็นจุดทศนิยมไม่ได้)
2023-03-23 89.0 1 ไม่มี 23/03/2566 : ประชุมหารือร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการในประเด็นการเชื่อมต่อโครงข่ายถนนโครงการของแผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง เมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2566 ความก้าวหน้าโครงการ 88.50 (ระบบรายงานเป็นจุดทศนิยมไม่ได้) ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 88
2023-04-21 89.0 1 ไม่มี 21/04/2566 : (1) ปรึกษาส่งรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2566 (2) ประชุมกลุ่มจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับ กทม. เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2566 (3) อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) คาดว่าจะมีการประชุมตรวจรับพัสดุในวันที่ 21 เม.ย 2566 ความก้าวหน้าโครงการ 88.50 (ระบบรายงานเป็นจุดทศนิยมไม่ได้) ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 88