รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 22000000-4221

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 60

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ22000000-4221
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการจ้างเหมาเอกชนเดินระบบและซ่อมบำรุงเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและระบบข้อมูลคุณภาพอากาศ (กจอ.)
Policy ID32
Branch ID0000000
Kpi ID2200-1061
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)132,182,444
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)76,332,000
คืบหน้าล่าสุด60
หน่วยงานสำนักสิ่งแวดล้อม
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกกรุงเทพมหานคร โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ประมวลผล รวมถึงอ้างอิงข้อมูลผลตรวจวัดคุณภาพอากาศ ส่งผลให้การประมวลผลที่ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศมีความแม่นยำและถูกต้องยิ่งขึ้นก่อนเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวสู่สาธารณชนต่อไป โดยใช้ข้อมูลผลตรวจวัดคุณภาพอากาศ ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา มาคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงในการเข้าไปในพื้นที่ที่ค่ามลพิษทางอากาศสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งโครงการพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศระยะแรกนั้นยังไม่ได้พัฒนาในส่วนของฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่และเวลาที่ใกล้เคียงปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการจัดทำฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร โดยการประมาณการระบายสารมลพิษหลักจากแหล่งกำเนิดที่สำคัญต่าง ๆ เช่น การจราจร อุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง การก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งการคาดประมาณการระบายสารมลพิษทางอากาศจะใช้ข้อมูลกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับสภาพเหตุการณ์จริงในการคำนวณการระบายสารมลพิษอากาศเชิงพื้นที่และเวลา ยกตัวอย่างเช่น การคาดประมาณการระบายสารมลพิษจากยานพาหนะโดยใช้ข้อมูลสภาพการจราจรแบบปัจจุบัน โดยการนำเทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาช่วยในการติดตามและแยกประเภทของยานพาหนะแบบรายชั่วโมงเพื่อใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษจากการจราจร ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญส่วนหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการจำลองคุณภาพอากาศโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขั้นสูง รวมถึงการนำข้อมูลดาวเทียมจากเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลมาใช้ในการติดตามและตรวจสอบการเผาในที่โล่งในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อจัดทำฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษและนำไปประยุกต์ใช้กับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอธิบายกระบวนที่ซับซ้อนของบรรยากาศและคาดการณ์คุณภาพอากาศรายวันล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษทางอากาศแบบใกล้เคียงปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากการสำรวจและตรวจวัดจากแหล่งต่าง ๆ (Crossed-Multi-Platform) ที่จำเป็นต้องใช้การรวบรวมและประมวลผลขั้นสูง ทั้งนี้ ฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษทางอากาศนี้อาจจะครอบคลุมจังหวัดรอบนอกและประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ของสารมลพิษทางอากาศที่เข้ามาในกรุงเทพมหานคร โดยฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษทางอากาศจะได้รับการปรับปรุงข้อมูลรายวันและแสดงผลแบบเชิงพื้นที่และเวลา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการรายงานสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลคุณภาพอากาศไปช่วยในการตัดสินใจในการทำกิจกรรมนอกอาคารบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศต่อตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันลดมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครต่อไป
วัตถุประสงค์๑. เพื่อจ้างเหมาเดินระบบพร้อมบำรุงรักษาสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง (Real time) ตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ จอแสดงผล (Display board) และระบบข้อมูลการจัดการคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบสถานการณ์มลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
๒. เพื่อปรับปรุงห้องสำหรับใช้เป็นศูนย์บริหารจัดการข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลการระบายสารมลพิษอากาศแบบใกล้เคียงปัจจุบันเพื่อใช้ในการติดตามและรายงานสถานการณ์มลพิษอากาศและสามารถนำไปใช้ในแบบจำลองคุณภาพอากาศ
4. เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจวัดมลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เป้าหมาย​๑. การตรวจวัดและซ่อมบำรุงสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ
๒. การปรับปรุงห้องสำหรับใช้เป็นศูนย์บริหารจัดการข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
​๓. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร
๔. พัฒนาระบบรายงานดัชนีคุณภาพอากาศและข้อมูลมลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานครสำหรับแจ้งเตือนและพยากรณ์ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติตนป้องสุขภาพบนแพลตฟอร์ม
(๑) เว็บไซต์ ​​​
(๒) iOS Application
​(๓) Android Application
ผู้รับผิดชอบกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
ผู้ตรวจประเมินกยล.
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ60 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 260
ผลงานเดือนที่ 360
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 460
ผลงานเดือนที่ 560
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-30 10.0 1 ไม่มี 30/12/2565 : ผลการตรวจวัดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ เดือนพฤศจิกายน 2565 ดังนี้ - PM2.5 = 8-62 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) - PM10 = 20-113 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม) - NO2 = 2.4-104.7 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) - CO 1 ชั่วโมง = 0.0-3.8 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 30 ppm) - CO 8 ชั่วโมง = 0.0-0.9 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 9 ppm) - O3 1 ชั่วโมง= 1.0-101.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 100 ppb) - O3 8 ชั่วโมง= 3.6-79.7 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 70 ppb)
2023-01-31 20.0 1 ไม่มี 31-1-66 รายงานผลการตรวจรับฯ งวด 2 แล้วเสร็จ ผลการตรวจวัดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ เดือนธันวาคม 2565 ดังนี้ - PM2.5 = 6-76 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) - PM10 = 17-106 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม) - NO2 = 0.0-158.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) - CO 1 ชั่วโมง = 0.0-3.0 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 30 ppm) - CO 8 ชั่วโมง = 0.0-2.0 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 9 ppm) - O3 1 ชั่วโมง= 0.0-165.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 100 ppb) - O3 8 ชั่วโมง= 2.0-110 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 70 ppb)
2023-02-27 30.0 1 ไม่มี 27/02/2566 : อยู่ระหว่างเบิกเงินงวดที่ 2 และตรวจรับงานงวดที่ 3 เรียบร้อยแล้ว ผลการตรวจวัดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ เดือนมกราคม2566 ดังนี้ - PM2.5 = 11-88 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) - PM10 = 21-150 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม) - NO2 = 0.0-158 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) - CO 1 ชั่วโมง = 0.0-3.0ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 30 ppm) - CO 8 ชั่วโมง = 0.0-2.0 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 9 ppm) - O3 1 ชั่วโมง= 0.0-165.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 100 ppb) - O3 8 ชั่วโมง= 1.0-124 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 70 ppb)
2023-03-27 50.0 1 ไม่มี 27/03/2566 : เบิกเงินงวด 2 แล้วเสร็จ = 38,166,000.- บาท 1. อยู่ระหว่างพัฒนาระบบฐานข้อมูลมลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร 2.ผลการตรวจวัดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ดังนี้ - PM2.5 = 8-134 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) - PM10 = 15-183 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม) - NO2 = 0.0-142 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) - CO 1 ชั่วโมง = 0.0-4.5 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 30 ppm) - CO 8 ชั่วโมง = 0.1-3.1 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 9 ppm) - O3 1 ชั่วโมง= 0.0-163.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 100 ppb) - O3 8 ชั่วโมง= 1.0-145.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 70 ppb)
2023-04-24 55.0 1 ไม่มี 24/04/2566 : เบิกเงินงวด 3 แล้วเสร็จ ผลการตรวจวัดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ เดือนมีนาคม 2566 ดังนี้ - PM2.5 = 7-107 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) - PM10 = 15-172 (มคก./ลบ.ม) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม) - NO2 = 0.0-134.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 170 ppb) - CO 1 ชั่วโมง = 0.0-3.9 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 30 ppm) - CO 8 ชั่วโมง = 0.0-2.5 ppm (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 9 ppm) - O3 1 ชั่วโมง= 1.0-130.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 100 ppb) - O3 8 ชั่วโมง= 2.0-103.0 ppb (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 70 ppb)