รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50070000-3413

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 70

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50070000-3413
ปี2566
ชื่อโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID5007-2017
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)127,800
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)55,979
คืบหน้าล่าสุด70
หน่วยงานสำนักงานเขตดุสิต
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2022-11-28 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานคร มีนโยบายในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ระยะที่ 1 แต่ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตามรายงานสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ยังคงพบว่าประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง เมื่อเทียบกับโรคทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ และยังคงพบปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารอยู่เสมอ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการเตรียม ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญที่สุด เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ การที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานเขตดุสิต ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักในสิทธิหน้าที่ของตนเองในการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่มีการผลิตและจำหน่ายอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยกำหนดดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1 เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร สถานที่สะสมอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหาร
2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด
2.3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการ และผู้สัมผัสอาหารของสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด
เป้าหมาย3.1 สถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร โดยได้รับการตรวจประเมินสุขลักษณะทุกแห่งที่มีใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร
3.2 สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่วางจำหน่ายในสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาเก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาด
(1) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) จำนวน 2,550 ตัวอย่าง ต้องไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 100 ของตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์
(2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) จำนวน 1,500 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 95 ของตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์
3.3 ผู้บริโภคได้รับการพิทักษ์สิทธิ์ในการเลือกซื้อกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ จากสถานประกอบการที่มีการจำหน่ายสินค้าประเภทกระเช้าของขวัญทุกแห่งในพื้นที่
3.4 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่ สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร โดยสามารถเป็นเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต ร่วมกับสำนักงานเขต จำนวน 46 แห่ง
(1) ตรวจประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทุกแห่ง
(2) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี (Test-Kit) และตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหา เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2)
(3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา
(4) ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต จำนวน 2 ครั้ง/ปี
(5) จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับอาสาสมัครอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง/ปี
3.5 จัดกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 1 ครั้ง/ปี
3.6 ตรวจสอบและติดตามให้สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย มีการรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้การส่งเสริมรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (รายใหม่) ทุกราย

ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมิน
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ70 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 270
ผลงานเดือนที่ 370
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 470
ผลงานเดือนที่ 570
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-31 20.0 1 ไม่มี 31/12/2565 : ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ
2023-01-25 30.0 1 ไม่มี แผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยในพื้นที่เขตดุสิต ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566 จำนวน 363 แห่ง ดำเนินการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน และ รายงานผลการดำเนินงานผ่าน BKK Food Safety มีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยจำนวน 121 แห่ง คิดเป็น 33.33 % เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2023-02-24 40.0 1 ไม่มี 24/02/2566 : ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 149 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 369 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40
2023-03-24 50.0 1 ไม่มี 24/03/2566 : 1. ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 187 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 370 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.54 2. จัดประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566
2023-04-24 60.0 1 ไม่มี 24/04/2566 : ปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - เมษายน 2566 มีสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 243 แห่ง จากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 376 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.63