รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50310000-2954

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 65

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50310000-2954
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID5031-2047
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)80,900
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)57,840
คืบหน้าล่าสุด65
หน่วยงานสำนักงานเขตบางซื่อ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) กำหนดวิสัยทัศน์ให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๕ โดยยุทธศาสตร์ที่ ๑ “มหานครปลอดภัย” ให้ความสำคัญกับการเป็นมหานครที่มีอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค มีเป้าหมาย คือ “ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ครอบคลุมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ในรอบ ๕ ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๒) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ ๖๘.๒ ๘๗.๘ ๙๑.๑ ๑๐๐.๖ และ ๙๑.๒๐ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ และลดลงในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ บ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า วัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสถานประกอบการอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีผลมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในผู้ประกอบการรายย่อย อีกทั้งยังส่งผลให้รูปแบบการประกอบธุรกิจด้านอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบกับการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น หากขาดการบริหารจัดการที่ดีและระบบตรวจสอบควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐขาดประสิทธิภาพไม่สามารถควบคุมกำกับให้สถานประกอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น เสียง ความร้อน การระบายน้ำเสีย หรือฝุ่นละออง ดังนั้นสำนักงานเขตบางซื่อจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขึ้น เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตื่นตัว ตระหนักถึงความสำคัญ ในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร
2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร
2.3 เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย
2.4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
เป้าหมาย3.1 เฝ้าระวังคุณภาพอาหารโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอาหาร ที่จำหน่ายในสถานประกอบการอาหาร ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี และสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
3.2 ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ ๑๐๐
3.3 จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา จำนวน ๒ ครั้ง
3.4 จัดนิทรรศการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา จำนวน ๒ ครั้ง
3.5 จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน ๔ ครั้ง
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมินนางสาวอรณิชา ศาลิคุปต์
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ65 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 265
ผลงานเดือนที่ 365
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 465
ผลงานเดือนที่ 565
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-05 30.0 1 - เป้าหมาย 1. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ ๑๐๐ 2. จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา จำนวน ๒ ครั้ง 3. จัดนิทรรศการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา จำนวน ๒ ครั้ง 4. จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน ๔ ครั้ง 05/01/2566 : 1. จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2565 พฤศจิกายน 2565 ธันวาคม 2565 และมกราคม 2566 เพื่อตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร และส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2023-01-24 40.0 1 - 24/01/2566 : 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือนมกราคม 2566 และดำเนินการตามแผนโดยตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร และส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 61 แห่ง 2. จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1 ณ ตลาดคงอุดม ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ
2023-02-23 45.0 1 - 23/02/2566 : จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และดำเนินการตามแผน โดยตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 62 แห่ง
2023-03-25 50.0 1 - 25/03/2566 : จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือนมีนาคม 2566 และดำเนินการตามแผน โดยตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 74 แห่ง
2023-04-24 60.0 1 - 24/04/2566 : จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือนมีนาคม 2566 และดำเนินการตามแผน โดยตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 32 แห่ง