รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50420000-3787

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 65

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50420000-3787
ปี2566
ชื่อโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
Policy ID31
Branch ID1106
Kpi ID5042-6506
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)102,800
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)56,100
คืบหน้าล่าสุด65
หน่วยงานสำนักงานเขตสายไหม
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง ส่งผลอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจด้านอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และรูปแบบการประกอบธุรกิจอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบและต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน
จากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยและอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและโรคอาหารเป็นพิษต่อแสนประชากร ใน 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 – 2565) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) อย่างไรก็ตาม หากมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษหรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถบ่งชี้ได้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยได้ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566 – 2570) มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สำนักงานเขตสายไหม จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครในวงกว้างต่อไป



วัตถุประสงค์2.1 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการ ได้แก่ ตลาด มินิมาร์ท/ของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และสถานศึกษาในพื้นที่
2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึก รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนด้านการจัดการอาหารปลอดภัย
2.4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
เป้าหมาย3.1 ร้อยละ 30 ของความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service)
3.2 ร้อยละ 96 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค
3.3 ร้อยละ 98 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมินนางสาวศุภอร กองเพ็ง โทร. 1519
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ65 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 265
ผลงานเดือนที่ 365
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 465
ผลงานเดือนที่ 565
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-31 30.0 1 ไม่มี 31/12/2565 : 1. จัดทำแผนการตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมายและสถานศึกษาในพื้นที่ 2. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท/ของชำ และสถานศึกษาในพื้นที่ 3. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study)
2023-01-25 40.0 1 ไม่มี 25/01/2566 : 1. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท/ของชำ และสถานศึกษาในพื้นที่ 2. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) จำนวน 33 แห่ง
2023-02-24 50.0 1 ไม่มี 24/02/2566 : 1. ดำเนินการตรวจความสะอาดของสถานที่และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ในสถานประกอบการอาหารกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร มินิมาร์ท และของชำในพื้นที่ 2. ดำเนินการส่งเสริมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Online) 3. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service)
2023-03-27 55.0 1 ไม่มี 27/03/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตามสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านการอบรมตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Online)
2023-04-25 60.0 1 ไม่มี 25/04/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารตามสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท/ของชำ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารผ่านการอบรมตามแนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) และการอบรมผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Online)