รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50500000-6138

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 65

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50500000-6138
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
Policy ID30
Branch ID0000
Kpi ID5050-822
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)85,840
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด65
หน่วยงานสำนักงานเขตบางบอน
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลจากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในกรุงเทพมหานคร จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ในรอบ 5 ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. 2558 – 2562) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ 68.2, 87.8, 91.1, 100.6, และ 91.20 ตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร สถานประกอบการอาหารที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น รูปแบบการประกอบธุรกิจ ด้านอาหาร มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออนไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการ เจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เหตุรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ควัน เสียง ความร้อน น้ำเสีย ประกอบกับปัจจุบันเกินสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ สถานประกอบการอาหารต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศ ข้อบังคับ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
เพื่อให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยมีความยั่งยืน และป้องกันควบคุม โรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตบางบอนจึงได้จัดทำ
โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อันเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครฯ
วัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ กรุงเทพมหานคร และมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
เป้าหมายร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 30
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมินนายวรวุฒิ เที่ยงธรรม
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ65 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 265
ผลงานเดือนที่ 365
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 465
ผลงานเดือนที่ 565
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-31 40.0 1 ไม่มี 31/01/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 16 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 16 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 453 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 407 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 11 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 15 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค จำนวน 26 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 94 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนด้านเคมี
2023-02-28 45.0 1 ไม่มี 28/02/2566 : ได้ดำเนินการตรวจติดตามประเมินผล รายละเอียดดังนี้ 1. ร้านอาหารจำนวน 15 แห่ง 2. มินิมาร์ทจำนวน 14 แห่ง 3. ตลาดจำนวน 1 แห่ง จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 578 ตัวอย่าง ด้านจุลชีววิทยา 321 ตัวอย่าง Si-2  294 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 18 ตัวอย่าง อ.11   27 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 6 ตัวอย่าง ด้านเคมี 257 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 42 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 32 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 21 ตัวอย่าง - สารกันรา 24 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 108 ตัวอย่าง - สีสังเคราะห์ 5 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 12 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 13 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 4 ตัวอย่าง
2023-04-27 55.0 1 ไม่มี 27/04/2566 : ได้ดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะและสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในกลุ่มเป้าหมาย สรุปผลได้ดังนี้ 1. ร้านอาหาร จำนวน 31 แห่ง 2. มินิมาร์ท จำนวน 32 แห่ง 3. ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยาจำนวน 794 ตัวอย่าง - จุลชีววิทยา จำนวน 732 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 39 ตัวอย่าง - อ.11 จำนวน 62 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 16 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ด้านเคมีจำนวน 330 ตัวอย่าง ด้านเคมี 257 ตัวอย่าง แยกประเภท ดังนี้ - บอแรกซ์ 50 ตัวอย่าง - ฟอร์มาลิน 50 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง - สารฟอกขาว 21 ตัวอย่าง - สารกันรา 27 ตัวอย่าง - ยาฆ่าแมลง 159 ตัวอย่าง - กรดแร่อิสระ 6 ตัวอย่าง - สารโพลาร์ 17 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนจำนวน 1 ตัวอย่าง