รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50500000-6156

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 60

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50500000-6156
ปี2566
ชื่อโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตบางบอน
Policy ID30
Branch ID
Kpi ID(ไม่ได้ตั้ง)
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด60
หน่วยงานสำนักงานเขตบางบอน
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลโรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจากรายงานสถานการณ์โดยรวมของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพ 13 เขต โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีอัตราป่วยสะสมสูง ๑ ใน ๕ อันดับแรกของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพเกือบทุกปี คือ ปี ๒๕๕๙ อยู่ในลำดับที่ ๓ อัตราป่วยสะสม เท่ากับ 129.39 ต่อแสนประชากร ปี 2560 เป็นอันดับ ๑ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 158.76 ต่อแสนประชากร ปี 2561 เป็นอันดับ ๕ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 154.47 ปี 2562 อันดับ ๔ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 219.77 ต่อแสนประชากร ปี 2563 อันดับที่ ๖ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 102.47 ต่อแสนประชากร และในปี ๒๕๖๔ กรุงเทพมหานคร อยู่ในอันดับ ๒ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ ๒๒.๕๕ ต่อแสนประชากร ทั้งนี้ปัจจัยการแพร่ระบาดที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก มาจากความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือและการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในพื้นที่ นับว่ามีความสำคัญมากในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๖๗๕) มีเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานคร ปลอดภัย ปลอดโรคคนเมือง จึงกำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในเป้าหมายการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อ และในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๖๖๕) เป็นต้นมา ได้กำหนดมาตรการด้านการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคติดต่อไว้
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมต่อการควบคุมแมลงพาหะนำโรค
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมแมลงพาหะนำโรค
3. เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เขตบางบอนเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
เป้าหมาย1. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2. ชุมชนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
3. ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย และกำจัดภาชนะขังน้ำได้อย่างเหมาะสม
4. ชุมชนในพื้นที่เขตบางบอนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
กลุ่มเป้าหมาย : ชุมชนในพื้นที่เขตบางบอน จำนวน 12 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนสถานีรางโพธิ์ 2. ชุมชนวัดบางบอน 3. ชุมชนการเกษตรบ้านนายผล 4. ชุมชนซอยกำนันแม้น 13 5. ชุมชนสวนผัก 6. ชุมชนริมคลองพระยาราชมนตรี 7. ชุมชนคลองบางพราน 8. ชุมชนหมู่บ้านรางไผ่ 9. ชุมชนหมู่บ้านกานดาคลาสสิควิลล์ 10. ชุมชนหนทางใหม่ปิ่นทอง 11. ชุมชนบ้านมั่นคงวิมานทอง 12. ชุมชนมั่นคง 133
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมิน
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ60 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 260
ผลงานเดือนที่ 360
ผลงานเดือนที่ 160
ผลงานเดือนที่ 460
ผลงานเดือนที่ 560
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-31 10.0 1 ไม่มี 31/01/2566 : จัดทำคำสั่งการปฏิบัติงาน
2023-02-28 30.0 1 ไม่มี 28/02/2566 : กำลังดำเนินการแต่งตั้งคำสั่งเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน
2023-04-27 40.0 1 ไม่มี 27/04/2566 : สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
2023-08-25 100.0 2 ประชาชนบางส่วนยังไม่ควาร่วมมือ ดำเนินการสำรวจลูกน้ำยงลายครบทั้ง 12 ชุมชน และมีการสรุปรายงานเรียบร้อยแล้ว ชุมชนทั้ง 12 ชุมชนมีค่า HI น้อยกว่า 10 ทุกชุมชน และประชาชนในชุมชมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไขเลือดออกมาขึ้น รวมทั้งยังมีความตะหนักเรื่องการกำจักแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายมากขึ้น