ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. ดำเนินการตรวจสถานประกอบการร้านอาหารในพื้นที่เขตบางรัก โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบ จำนวน 150 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 26.3 ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ 2. ดำเนินการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนในพื้นที่เขตบางรัก จำนวน 21 โรงเรียน และสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากโรงเรียน ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ 3. เก็บตัวอย่างนมโรงเรียนจากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางรัก จำนวน 2 โรงเรียน ผลการตรวจวิเคราะห์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1. ตรวจสอบคุณภาพอาหารจากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 296 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 40 ของสถานประกอบการทั้งหมด ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ 2. สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี ร้อยละ 40 3. ดำเนินการเก็บตัวอย่างนมโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 5 แห่ง เพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนด้านชีวภาพ ผลการวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด 4. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในพื้นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการสุขาภิบาล ซึ่งได้มีการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารโรงเรียน ครั้งที่ 1 ทั้งหมด 21 โรงเรียน และจัดประชุมเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ครั้งที่ 1 เป็นที่เรียบร้อย 5. ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 1 แห่ง
1. ตรวจสอบคุณภาพอาหารจากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 456 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 60 ของสถานประกอบการทั้งหมด ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ 2. สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี ร้อยละ 50
1. ตรวจสอบคุณภาพอาหารจากสถานประกอบการอาหาร จำนวน 668 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 86.86 ของสถานประกอบการทั้งหมด ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ 2. สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครระดับดี ร้อยละ 86.86 3. มีการปรับค่าเป้าหมายจากร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 80 ตามหนังสือสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ที่ กท 0502/1190 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2563
1. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่ 50 เขต ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 2. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหาร และด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ดังนี้ 2.1 ด้านอาคารสถานที่ ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะสถานประกอบการอาหาร 2.2 ด้านความปลอดภัยของอาหาร ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารเกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภคภาชนะอุปกรณ์มือผู้สัมผัสอาหารโดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อนไม่เกินร้อยละ 10 กรณีพบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หรือโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ให้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือคำแนะนำให้ผู้ประกอบการอาหาร ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2.3 ด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และผ่านการทดสอบความรู้โดยได้รับหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร 3. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึง ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหาร สามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครคูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต
1. โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย 2. ข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และข้อมูลจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. เอกสารการขอรับ และส่งป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |