ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายประยูน เพ็ชรสิทธิ์ / โทร.6374
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้มีประชากรมาประกอบอาชีพและพักอาศัยอย่างหนาแน่น ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการจัดการมูลฝอย โดยเฉพาะปัญหามูลฝอยจากชุมชนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี หากขาดความร่วมมือจากประชาชนในการลดและคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ปริมาณมูลฝอยจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กรุงเทพมหานครต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยเพิ่มสูงขึ้น สำนักงานเขตประเวศจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ ประเภทเศษอาหารและเศษผัก ผลไม้ โดยนำมาแปรสภาพให้เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ก๊าซชีวภาพ หรือเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมูลฝอยเศษอาหารที่กรุงเทพมหานครจะต้องจัดเก็บและกำจัด เป็นการเพิ่มศักยภาพการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ และประหยัดงบประมาณการจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร
50340600/50340600
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยประเภทเศษอาหารและเศษผัก ผลไม้ โดยนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2. เพื่อลดปริมาณมูลฝอยประเภทเศษอาหารที่กรุงเทพมหานครต้องจัดเก็บและกำจัด 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด
ประชาชนและชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ จำนวน 8 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนกระทุ่มเสือปลา ชุมชนซอยร่มเย็น ชุมชนเปรมฤทัย 20ชุมชนมิตรภาพซอย 6 ชุมชนมัสยิดดอกไม้ ชุมชนสุเหร่าจรเข้ขบ ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่ และศูนย์การเรียนรู้การลดปริมาณมูลฝอยของเขต
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ% |
๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-08-29)
29/08/2564 : สรุปผลการดำเนินการเสนอผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : 1.ผลิตปุ๋ยหมักเปลือกส้ม เศษผัก และเศษผลไม้ จำนวนทั้งสิ้น 120 ตัน บริเวณศูนย์การเรียนรู้ผลิตปุ๋ยหมัก สวนสุขภาพเขตประเวศ 2.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม เปลือกมะนาว เปลือกสับปะรด จำนวน 50 ตัน ผลิตน้ำหมักเพื่อใช้ในเขตประเวศ จำนวน 15,000 ลิตร 3.นำปุ๋ยหมักชีวภาพบำรุงต้นไม้บริเวณถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9, ถนนพัฒนาการ (ตัดใหม่), และสวนพัฒนาภิรมย์ ถนนอ่อนนุช
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : 1.ผลิตปุ๋ยหมักเปลือกส้ม เศษผัก และเศษผลไม้ หมักรวมกับใบไม้และเศษกิ่งไม้ จำนวนทั้งสิ้น 30 ตัน บริเวณศูนย์การเรียนรู้ผลิตปุ๋ยหมักริมถนนกาญจนาภิเษก 2.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม จำนวน 60 ตัน ผลิตน้ำหมักเพื่อใช้ในเขตประเวศ จำนวน 18,000 ลิตร 4.แจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ เพื่อใช้ในครัวเรือน 5.นำปุ๋ยหมักชีวภาพบำรุงดินในสวนสาธารณะ และสวนหย่อมต่าง ๆ ในพื้นที่เขตประเวศ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-05-27)
27/05/2564 : 1.สาธิตให้ความรู้เจ้าหน้าที่กวาดทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผลไม้ เพื่อใช้ดับกลิ่นในแหล่งน้ำขยะเศษอาหาร 2.นำเศษอาหาร ประเภทเปลือกผลไม้ เศษผัก หมักทำปุ๋ยใช้ในพื้นที่เขต และน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายประชาชน 3.รวบรวมขยะเศษอาหารจากร้านขายอาหารเพื่อรวบรวมให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงแพะ โคขุน หมู และปลา 4.นำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพใส่ในแปลงเกษตรอินทรีย์แฟลตข้าราชการและลูกจ้าง เขตประเวศ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-04-27)
27/04/2564 : 1.ผลิตปุ๋ยหมักแบบกองรวม บริเวณพื้นที่ว่างใต้ทางต่างระดับกาญจนาภิเษก (ช่วงถนนอ่อนนุช) ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผักและผลไม้ 2.รวบรวมเปลือกผลไม้ เช่น เปลือกส้ม เปลือกมะพร้าวน้ำหอม เศษผักและใบตองจากตลาดสด นำมาหมักรวมกับผักตบชวา เศษใบไม้แห้ง เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก 3.รวบรวมเปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพด เปลือกกล้วย เปลือกขนุน เปลือกมัน เปลือกฟักทอง เศษแป้งจากโรงงานปาท่องโก๋ โรตี เศษแป้งจากผลิตบะหมี่และคุกกี้ และประสานงานให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและโคขุนในพื้นที่เขตประเวศ นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ 4.ประสานงานกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและหมูขุน เก็บรวบรวมเศษอาหารจากร้านอาหารทั่วไป ร้านสะดวกซื้อ วัดในพื้นที่เขต ผู้ประกอบกิจการอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตอาหารแปรรูป นำไปเป็นอาหารเลี้ยงปลาและหมูขุน 6.รวบรวมเปลือกส้มจากโรงงานผลิตน้ำส้มคั้นสด ผลิตปุ๋ยหมักโดยนำมาหมักกับเศษไม้บด 7.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม เปลือกมะนาว เปลือกสับปะรด จำนวน 60 ตัน ผลิตน้ำหมักเพื่อใช้ในกิจกรรมของเขตประเวศ จำนวน 12,000 ลิตร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-26)
26/03/2564 : 1.แจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพให้แก่ประชาชนที่ติดต่อราชการที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตประเวศ รวม 150 ลิตร 2.ผลิตปุ๋ยหมักเปลือกส้ม เศษผัก เศษผลไม้ จำนวนทั้งสิ้น 7 ตัน บริเวณศูนย์เรียนรู้ สวนสุขภาพเขตประเวศ 3.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม เปลือกมะนาว และเปลือกสับปะรด จำนวน 40 ตัน ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในเขตประเวศ จำนวน 14,000 ลิตร 4.ผลิตปุ๋ยหมักแบบกองรวม บริเวณพื้นที่ว่างใต้ทางต่างระดับกาญจนาภิเษก (ช่วงถนนอ่อนนุช) ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผักและผลไม้ 5.รวบรวมเปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพด เปลือกกล้วย เปลือกขนุน เปลือกมัน เปลือกฟักทอง เศษแป้งจากโรงงานปาท่องโก๋ โรตี เศษแป้งจากผลิตบะหมี่และคุกกี้ และประสานงานให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและโคขุนในพื้นที่เขตประเวศ นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-02-26)
26/02/2564 : 1.สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ณ ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ และชุมชนใกล้เคียง ณ โรงเรียนสุเหร่าทางควาย 2.แจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพให้แก่ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนสุเหร่าทางควาย รวม 100 ลิตร 3.ผลิตปุ๋ยหมักเปลือกส้ม เศษผัก เศษผลไม้ จำนวนทั้งสิ้น 5 ตัน บริเวณศูนย์เรียนรู้ สวนสุขภาพเขตประเวศ 4.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม เปลือกมะนาว และเปลือกสับปะรด จำนวน 50 ตัน ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในเขตประเวศ จำนวน 15,000 ลิตร 5.สนับสนุนปุ๋ยหมักชีวภาพโดยนำเศษผักผลไม้ และขยะอินทรีย์มาใช้หมักรวมเศษอาหาร เศษใบไม้กิ่งไม้ ให้กับชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ และชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่ ผลิต รวม 12 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : 1.ผลิตปุ๋ยหมักเปลือกส้ม เศษผัก เศษผลไม้ และเปลือกมะพร้าว หมักรวมกับวัชพืชน้ำ จำนวนทั้งสิ้น 120 ตัน บริเวณศูนย์การเรียนรู้ผลิตปุ๋ยหมักริมถนนกาญจนาภิเษก 2.ผลิตน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น โดยใช้เปลือกส้ม เปลือกมะนาว เปลือกสับปะรด จำนวน 60 ตัน ผลิตน้ำหมักเพื่อใช้ในเขตประเวศ จำนวน 18,000 ลิตร 3.ผลิต EM Ball เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย จำนวน 2,000 ลูก แจกจ่ายให้ชุมชนริมคลองใช้บำบัดน้ำเสีย 4.สนับสนุนชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ และชุมชนคลองปักหลักพัฒนา ผลิตปุ๋ยหมักชุมชนโดยนำเศษผักผลไม้ และขยะอินทรีย์มาใช้หมักรวมเศษอาหาร
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : 1.ลงพื้นที่ชุมชนอ่อนนุช 19 ไร่ ถนนสุขาภิบาล 2 แขวงประเวศ กระตุ้นการดำเนินกิจกรรมคัดแยกมูลฝอยอาหารนำมาผลิตปุ๋ยหมักแบบวงบ่อคอนกรีต และผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักและผลไม้ โดยใช้ที่ทำการชุมชนอ่อนนุช 19 ไร่ เป็นสถานที่ทำกิจกรรม 2.สาธิตการผลิตปุ๋ยหมักแบบกองรวม บริเวณพื้นที่ว่างใต้ทางต่างระดับกาญจนาภิเษก (ช่วงถนนอ่อนนุช) ผลิตปุ๋ยหมักจากเศษผักและผลไม้ 3.รวบรวมเปลือกผลไม้ เช่น เปลือกส้ม เปลือกมะพร้าวน้ำหอม เศษผักและใบตองจากตลาดสด นำมาหมักรวมกับผักตบชวา เศษใบไม้แห้ง เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก 4.รวบรวมเปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพด เปลือกกล้วย เปลือกขนุน เปลือกมัน เปลือกฟักทอง เศษแป้งจากโรงงานปาท่องโก๋ โรตี เศษแป้งจากผลิตบะหมี่และคุกกี้ และประสานงานให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและโคขุนในพื้นที่เขตประเวศ นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ 5.ประสานงานกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและหมูขุน เก็บรวบรวมเศษอาหารจากร้านอาหารทั่วไป ร้านสะดวกซื้อ วัดในพื้นที่เขต ผู้ประกอบกิจการอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตอาหารแปรรูป นำไปเป็นอาหารเลี้ยงปลาและหมูขุน 6.รวบรวมเปลือกส้มจากโรงงานผลิตน้ำส้มคั้นสด ผลิตปุ๋ยหมักโดยนำมาหมักกับเศษไม้บด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-27)
27/11/2563 : 1.คัดแยกขยะเศษอาหารออกจากมูลฝอยทั่วไป เช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก เพื่อนำมาหมักทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ในพื้นที่เขต และน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายประชาชน 2.ร่วมกับฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ขอความร่วมมือจากร้านขายอาหาร เพื่อนำเศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ ที่เหลือจากการจำหน่ายและต้องการกำจัด นำไปส่งให้กับเกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำมาเลี้ยงสัตว์ 3.สาธิตและให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากขยะเศษอาหาร เช่น เศษอาหาร เศษผัก และเศษผลไม้ ให้กับชุมชนสุเหร่าจรเข้ขบ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายคัดแยกขยะให้ถูกต้อง และช่วยลดปริมาณมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดให้มากที่สุด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนขออนุมัติเงินประจำงวด, จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และจัดทำแผนการดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 30
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 35.14
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **